ปัจจุบันภาคเกษตรกรรมทั่วทุกมุมโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายเร่งด่วน อาทิ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การขาดแคลนอาหาร และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับแนวทางการแก้ไขเชิงนวัตกรรมกำลังเป็นที่ต้องการมากในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้แบบยั่งยืน งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย (AGRITECHNICA ASIA และ HORTI ASIA) เป็นงานจัดแสดงเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตรที่ทันสมัยและได้มาตรฐานระดับนานาชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะปฏิวัติแนวทางปฏิบัติด้านการเกษตรและเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร
าน อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2567 ณ. ฮอลล์ 98 – 99 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ซึ่งงานนี้จัดขึ้นโดยสมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน (DLG International) และ บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จำกัด โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าภาพร่วม สำหรับงานในปีนี้มีผู้ประกอบการเข้าร่วมแสดงนวัตกรรมด้านการเกษตรกว่า 300 รายจาก 28 ประเทศ นับเป็นการรวมตัวของผู้นำด้านนวัตกรรมการเกษตรที่หลากหลายในนานาชาติ ตอกย้ำสถานะของงานในฐานะศูนย์กลางด้านเครื่องจักรและนวัตกรรมพืชสวนที่สำคัญในเอเชีย
นางแคธาริน่า สแตส์เก้ (Katharina Staske) กรรมการผู้จัดการสมาคมเกษตรกรรมเยอรมัน ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เน้นย้ำถึงความสำคัญของการจัดงานแสดงสินค้าในปีนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 4 ของการจัดงาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย โดยมีขนาดและผู้เข้าร่วมแสดงนวัตกรรมทางการเกษตรเพิ่มขี้นกว่าเท่าตัวว่า “ภายในงาน ผู้เข้าชมงานได้พบกับผู้ผลิตชั้นนำจากทุกภาคส่วน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะปลูกดิน เช่น เล็มเค่น (Lemken) จากประเทศเยอรมนี, แชคติมาน (Shaktiman) จากประเทศอินเดีย, และ เคดับเบิ้ลยู เมทัล เวิร์ค (KW Metal work) จากประเทศไทย”
นางสแตส์เก้กล่าวเสริมว่า “ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนเพื่อเข้าชมงานแล้วจาก 62 ประเทศทั่วโลก ตอกย้ำให้เห็นว่า งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย เป็นศูนย์กลางระดับนานาชาติสำหรับชุมชนเกษตรกรรมในการเรียนรู้ถึงแนวปฏิบัตด้านความยั่งยืนและนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมทางการเกษตร ภายใต้แนวคิดหลักในปีนี้ “การร่วมสร้างสรรค์และเครือข่ายที่ยั่งยืน” (Co-Creation and Sustainable Networks)
ด้านนางสาวปนัดดา ก๋งม้า รองประธานฝ่ายธุรกิจ บริษัท วีเอ็นยู เอเชียแปซิฟิค จำกัด เน้นถึงความสำคัญของการจัดงาน ฮอร์ติ เอเชีย กล่าวว่า “ในปีนี้นับเป็นการจัดงานครั้งที่ 8 ทางคณะผู้จัดงานฯ มีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ด้านพืชสวนและเทคโนโลยีการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีบริษัทเข้าร่วมกว่า 300 แห่งจาก 28 ประเทศ รวมถึงผู้นำในอุตสาหกรรมชั้นนำ อาทิ เนต้าฟิม (Netafim) และ คลาสมาน-เดลมันน์ (Klasmaan-Deilmann) ร่วมถึงพันธมิตรอย่าง ดูมเมน ออ-เร้นจ์ (Dummen Orange) และ อะการิส (Agaris)
งานนี้ถือเป็นงานรวมตัวของเหล่าสุดยอดผู้ผลิตนวัตกรรมทางการเกษตรในอุตสาหกรกรรม คณะผู้จัดงานฯ รู้สึกเป็นเกียรติ และภูมิใจที่มีโอกาสได้ร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรสำคัญในภาคส่วนต่างๆ เช่น สถานทูตเนเธอร์แลนด์, สมาคมวิทยาศาสตร์พืชสวนแห่งประเทศไทย, สมาคมเกษตรกรรุ่นใหม่จังหวัดเชียงใหม่ ฯลฯ ถือเป็นการตอกย้ำความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และความร่วมมือระดับโลกผ่านงานประชุมและสัมมนาวิชาการภายในงานครั้งนี้”
ดร. วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักกิจการการเกษตรต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เน้นย้ำถึงการตอบสนองเชิงกลยุทธ์ของประเทศไทยต่อความท้าทายทางการเกษตรระดับโลกว่า “เมื่อพิจารณาถึงความท้าทายเร่งด่วนระดับโลกที่เราเผชิญ ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความยั่งยืน และความมั่นคงทางอาหาร จำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกัน แนวคิดเชิงนวัตกรรมและการทำงานร่วมกันถือเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยคุณจะพบได้ที่งาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย ซึ่งสอดคล้องกับธีม “การร่วมสร้างสรรค์และเครือข่ายที่ยั่งยืน” ประจำปีนี้อย่างสมบูรณ์แบบ”
ดร. ไกส์ ทูนิสเซ่น (Gijs Theunissen) อัครราชฑูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) – สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศว่า “การจัดการกับความท้าทายด้านความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืนเมื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับพวกเราในภาคเกษตรกรรม โดยในงาน ฮอร์ติ เอเชีย 2567 สถานทูตเนเธอร์แลนด์ร่วมกับพันธมิตรชาวไทย จะเป็นเจ้าภาพการประชุมไทย-ดัตช์ ซึ่งเน้นในหัวข้อ ‘นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนในการปลูกพืชสวน’: แรงบันดาลใจของไทย-ดัตช์ในบริบทระดับโลก’ เป้าหมายของเราคือการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่เป็นนวัตกรรมและความรู้ด้านพืชสวน เพื่อสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหารอย่างยั่งยืน จึงอยากขอเรียนเชิญทุกคนที่สนใจในประเด็นสำคัญเหล่านี้ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 เพื่อมีส่วนร่วมและหารือกับผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทยและเนเธอร์แลนด์”
นายคาร์สเต้น ซีเบลล์ (Karsten Ziebell) หัวหน้าโครงการความร่วมมือทางการเกษตรเยอรมัน-ไทย หรือ GETHAC ให้ข้อมูลว่า วัตถุประสงค์ของโครงการคือการยกระดับความยั่งยืนของการผลิตทางการเกษตรและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงของภาคเกษตรกรรมของไทย เราจึงอยากเรียนเชิญผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีที่ยั่งยืนสมัยใหม่มาร่วมสร้างโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพในวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 ร่วมกันกับเรา
นางวิไลวรรณ ทวิชศรี เลขาธิการสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวไทย กล่าวว่า ในความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร สมาคมพืชสวนไทย ชุมชนมะพร้าวนานาชาติ และบริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค จำกัด เราภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าภาพการประชุมมะพร้าวนานาชาติครั้งที่ 3 หัวข้อหลักของปีนี้ ‘เทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวอัจฉริยะและโอกาสทางการตลาด’ จะรวบรวมผู้เชี่ยวชาญจาก 6 ประเทศ รวมถึงอินเดีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย การประชุมจะมีระยะเวลา 2 วัน โดยมีการบรรยายเชิงลึกและเยี่ยมชมสวนมะพร้าวหอมในจังหวัดปทุมธานี และโรงงานเครื่องสำอางที่ใช้น้ำมันมะพร้าว ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการผลิตมะพร้าว
ผู้สนใจเข้าชมงาน สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าพร้อมรับสิทธิลุ้นรับรางวัลมากมาย และจับจองที่นั่งในงานสัมมนาก่อนใครโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่สำหรับการลงทะเบียนหน้างาน ในช่วงวันจัดงาน จะมีค่าใช้จ่ายในการเข้าชมงาน โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมและลงทะเบียนผ่าน AGRITECHNICA ASIA ได้ที่ www.agritechnica-asia.com และ HORTI ASIA ได้ที่ www.horti-asia.com