“อลงกรณ์” ลุยแดนมังกรดึงจีนลงทุน10อุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคตหวังเป็นเครื่องยนต์ (new growth engine) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน อดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศคนที่ 1 และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้รับเชิญให้กล่าวปาฐกถาพิเศษในการประชุม BRI (Belt and Road Innitiative) industrial investment International summit forum 2024ที่เซินเจิ้นโดยกล่าวว่า โลกผันผวนและ เปลี่ยนแปลงทุกมิติอย่างรวดเร็ว มีทั้งโอกาส และ ภัยคุกคาม เราต้องออกแบบอนาคต และ นวัตกรรม (Innovating the Future)
การลงทุนใหม่ๆ ประการสำคัญคือการมีหุ้นส่วน (partnership) ที่ดีเป็นหัวใจสำคัญที่สุด ขอให้เชื่อมั่นว่าโอกาสมีอยู่ทุกหนแห่ง (Possibility is everywhere)

นายอลงกรณ์ได้ยกตัวอย่างความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีนทางด้านการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวตลอด 49 ปีของความสัมพันธ์ทางการฑูตทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจและเศรษฐกิจเปิดกว้างและเติบโตต่อเนื่องแม้จะเผชิญกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ แต่ก็สามารถฝ่าฟันผ่านพ้นมาได้จนประเทศจีนเป็นประเทศคู่ค้าและผู้ลงทุนอันดับ 1 ของประเทศไทยรวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวจีนก็มาไทยมากที่สุดโดยเฉพาะ 10 ปีแห่งความร่วมมือในการขับเคลื่อนโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค RCEP ล่าสุดซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของความเป็นหุ้นส่วน (partnership) บนผลประโยชน์และความสำเร็จร่วมกัน
“อุตสาหกรรมใหม่คือโอกาสใหม่ๆของทุกประเทศของทุกบริษัทและนักลงทุนทุกคนจึงขอเชิญชวนมาลงทุนทั้งในตลาดทุน (Capital Investment) และตลาด FDI (Foreign Direct Investment) ในประเทศไทยโดยเฉพาะระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (EEC) และเขตเศรษฐกิจพิเศษในภูมิภาครวมทั้งอุตสาหกรรมใหม่ (first S-Curveและ New S-Curve) 10 สาขาซึ่งมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนเป็นพิเศษของรัฐบาลไทยภายใต้ BCG โมเดลและเป้าหมายลดโลกร้อนของการประชุม COP28 ได้แก่

1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next – Generation Automotive) เช่นยานยนต์ไฟฟ้า
2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)
3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)
4) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)
5) อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (Food for the Future) และอุตสาหกรรมอนาคตใหม่ (New S-curve) อีก 5 สาขา
1) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics) และ AI
2) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
3) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)
4) อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital)
5) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
ซึ่งเป็นรูปแบบการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบสินค้าและเทคโนโลยี โดยจะเป็นหัวใจหลักของกลไกใหม่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (New Growth Engines)
นายอลงกรณ์ยังได้หารือระหว่างLunch meeting กับผู้บริหารบริษัทลงทุนยักษ์ใหญ่หลายแห่งซึ่งทุกบริษัทตอบรับอย่างกระตือรือร้นที่จะมาลงทุนในประเทศไทยทั้งอุตสาหกรรมใหม่และตลาดทุนของไทย
สำหรับการสัมมนาครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกว่า500คนและมีสมาคมการค้าไทย-จีนและเศรษฐกิจเอเชีย
โดยนางสาวอภิญญา ปราโมช นายกสมาคมฯ นางสาวประจงจิต พลายเวช รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมฯและนายเมฆินทร์ เอี่ยมสะอาด จากมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมด้วยโดยจัดที่โรงแรมเชอราตัน-เซิ่นเจิ้นเมื่อ26 มกราคมที่ผ่านมา