ปภ. รายงาน น้ำท่วมหนัก 29 จังหวัด ประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 3 แสนครัวเรือน ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เร่งคลี่คลายสถานการณ์
เมื่อวันที่ 17 ต.ค.2565 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานผลกระทบจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากและมีลมแรง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย
รวมถึงความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีน ยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ตลอดจนมีการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง
โดยช่วงวันที่ 28 ก.ย.-17 ต.ค. เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่รวม 59 จังหวัด 322 อำเภอ 1,625 ตำบล 9,913 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 450,633 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่รวม 29 จังหวัด ได้แก่ ตาก พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี หนองบัวลำภู อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม นครนายก สระบุรี ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา รวม 147 อำเภอ 938 ตำบล 5,820 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 369,513 ครัวเรือน ดังนี้
1.ตาก น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามเงา และอำเภอแม่สอด รวม 4 ตำบล 24 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 466 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 2.พิษณุโลก น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวังทอง อำเภอบางระกำ และอำเภอพรหมพิราม รวม 24 ตำบล 94 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,540 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
3.พิจิตร น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามง่าม อำเภอทับคล้อ อำเภอบึงนาราง อำเภอบางมูลนาก อำเภอเมืองพิจิตร อำเภอตะพานหิน อำเภอโพทะเล และอำเภอโพธิ์ประทับช้าง รวม 53 ตำบล 298 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,430 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 4.นครสวรรค์ น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ และอำเภอตาคลี รวม 18 ตำบล 140 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,695 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
5.ขอนแก่น น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอชนบท อำเภอน้ำพอง อำเภอโคกโพธิ์ชัย อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอแวงใหญ่ รวม 13 ตำบล 48 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 120 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 6.มหาสารคาม น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย อำเภอโกสุมพิสัย และอำเภอเชียงยืน รวม 46 ตำบล 529 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,201 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
7.กาฬสินธุ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอร่องคำ อำเภอฆ้องชัย อำเภอกมลาไสย อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ และอำเภอยางตลาด รวม 24 ตำบล 178 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,098 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 8.ร้อยเอ็ด น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโพนทราย และอำเภอจังหาร รวม 6 ตำบล 38 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,369 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
9.ยโสธร น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอค้อวัง อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอเมืองยโสธร และอำเภอมหาชนะชัย รวม 24 ตำบล 141 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 24 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 10.นครราชสีมา น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอสูงเนิน และอำเภอชุมพวง รวม 11 ตำบล 28 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,195 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
11.บุรีรัมย์ น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพุทไธสง อำเภอสตึก อำเภอคูเมือง อำเภอนางรอง อำเภอกระสัง อำเภอแคนดง และอำเภอลำปลายมาศ รวม 54 ตำบล 344 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,697 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 12.สุรินทร์ น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม และอำเภอรัตนบุรี รวม 20 ตำบล 88 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 19,198 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
13.ศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอราษีไศล อำเภอกันทรารมย์ อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอยางชุมน้อย และอำภอศิลาลาด รวม 33 ตำบล 240 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 13,284 ครัวเรือน อพยพประชาชน 830 ครัวเรือน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 34 จุด มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
14.อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ อำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอเดชอุดม อำเภอดอนมดแดง อำเภอสำโรง อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอเขื่องใน อำเภอตระการพืชผล และอำเภอตาลสุม รวม 38 ตำบล 246 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,870 ครัวเรือน อพยพประชาชน 246 ชุมชน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 117 จุด ระดับน้ำทรงตัว
15.หนองบัวลำภู น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนสัง และอำเภอศรีบุญเรือง รวม 17 ตำบล 211 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 132 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 16.อุทัยธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุทัยธานี และอำเภอหนองขาหย่าง รวม 13 ตำบล 60 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,195 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
17.ชัยนาท น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอวัดสิงห์ อำเภอมโนรมย์ อำเภอสรรพยา อำเภอหนองมะโมง อำเภอหันคา อำเภอเนินมะขาม และอำเภอสรรคบุรี รวม 35 ตำบล 223 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,958 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 18.สิงห์บุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี อำเภอท่าช้าง อำเภอพรหมบุรี อำเภอบางระจัน และอำเภอค่ายบางระจัน รวม 22 ตำบล 130 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 17,825 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
19.อ่างทอง น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอป่าโมก อำเภอไชโย อำเภอเมืองอ่างทอง และอำเภอโพธิ์ทอง รวม 44 ตำบล 147 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,887ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 20.พระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมในพื้นที่ 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะหัน อำเภอท่าเรือ อำเภอนครหลวง อำเภอมหาราช อำเภออุทัย อำเภอวังน้อย อำเภอภาชี อำเภอบ้านแพรก และอำเภอบางซ้าย รวม 156 ตำบล 1,019 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 73,438 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
21.ปทุมธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก รวม 21 ตำบล 62 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,584 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 22.นนทบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปากเกร็ด อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางกรวย และอำเภอบางบัวทอง รวม 42 ตำบล 268 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 110,562 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
23.ลพบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอชัยบาดาล อำเภอบ้านหมี่ อำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง และอำเภอโคกสำโรง รวม 28 ตำบล 98 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,157 ครัวเรือน อพยพประชาชน 252 คน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 2 จุด ระดับน้ำทรงตัว 24.สุพรรณบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีประจันต์ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง รวม 52 ตำบล 335 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 26,105 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
25.นครปฐม น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนครชัยศรี อำเภอบางเลน อำเภอสามพราน อำเภอเมืองนครปฐม อำเภอกำแพงแสน อำเภอดอนตูม อำเภอพุทธมณฑล รวม 37 ตำบล 224 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,976 หมู่บ้าน ระดับน้ำทรงตัว 26.นครนายก น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครนายก อำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา และอำเภอองครักษ์ รวม 19 ตำบล 143 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,415 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
27.สระบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอหนองโดน อำเภอบ้านหมอ อำเภอเสาไห้ และอำเภอดอนพุด รวม 30 ตำบล 117 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,567 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 28.ปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอศรีมหาโพธิ์ อำเภอบ้านสร้าง และอำเภอศรีมโหสถ รวม 43 ตำบล 279 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,970 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง และ 29.ฉะเชิงเทรา น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพนมสารคาม อำเภอบ้านโพธิ์ และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว รวม 11 ตำบล 68 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,555 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
ขณะที่สถานการณ์ฝนตกต่อเนื่องในภาคใต้เมื่อวันที่ 16 ต.ค. ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ พังงา และ ภูเก็ต รวม 4 อำเภอ 10 ตำบล 15 หมู่บ้าน โดยที่ จ.ภูเก็ตมีน้ำท่วม 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกระทู้ อำเภอถลาง อำเภอเมืองภูเก็ต รถสามารถสัญจรผ่านได้ โดยเจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย
ส่วนที่ จ.พังงา มีน้ำท่วมในเทศบาลตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้วสำหรับการให้ความช่วยเหลือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งระบายน้ำท่วมและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”