เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 66 ชุดสืบสวนนครบาล (บก.สส.บช.น.) เจ้าหน้าที่ตำรวจ ตม.จว.สมุทรปราการ และเหล่านักเรียนอบรมหลักสูตรสืบสวนคดีอาญา รุ่นที่ 113 ร่วมจับกุมนายบุญ หรือเจน สมนาง อายุ 43 ปี สัญชาติกัมพูชา ซึ่งเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญากรุงเทพใต้ที่ 903/2566 ลงวันที่ 26 ก.ย. 2566 ข้อหา “ร่วมกันลักทรัพย์ฯ(ล้วงกระเป๋า)” นายจัน หรือยวน เน็ต อายุ 31 ปี สัญชาติกัมพูชา ข้อหา“เป็นบุคคลต่างด้าวเดินทางเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต”

พร้อมตรวจยึดของกลาง เสื้อผ้าและอุปกรณ์ที่ผู้ถูกจับใช้ในการก่อเหตุ 1 ชุด 2. เงินสด 30,000 บาท แหวน ลักษระคล้ายทองคำ 1 วง พระเครื่องพร้อมกรอบ ลักษระคล้ายทองทำ 1 องค์ สร้อยคำ ลักษณะคล้ายทองคำ 1 เส้น และโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง และ 7. ของกลางอื่นๆ อาทิ สมุดบัญชีธนาคารต่างๆ จำนวน 3 เล่ม , ตั๋วจำนวนทอง 5 ใบ และรายการอื่นๆ รวม 22 รายการโดยจับกุมตัวได้ที่บริเวณหน้าห้างอิมพีเรียล สาขาสำโรง ต.สำโรงเหนือ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 26 ก.ย.ที่ผ่านมา

สืบเนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนและนักท่องเที่ยวผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน ว่าเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2566 ได้มีกลุ่มแก๊งมิจฉาชีพออกตระเวนล้วงกระเป๋าเอาทรัพย์สินพนักงานและนักท่องเที่ยวจำนวนหลายราย ในพื้นที่ของสน.ทุ่งมหาเมฆ จึงได้สั่งการให้ พ.ต.อ.วิชิต ทำการสืบสวน จนทราบแผนประทุษกรรมของแก๊งนี้ ประกอบด้วยสมาชิกเป็นชาวกัมพูชาประมาณ 4-5 คน ซึ่งพักอาศัยในอพาร์ทเมนต์ย่านสำโรง-เทพารักษ์ จะออกตระเวนก่อเหตุล้วงกระเป๋าเป็นอาชีพตามแหล่งชุมชนที่มีนักท่องเที่ยวและผู้คนสัญจรพลุกพล่าน โดยมักจะรวมตัวบริเวณห้างดังย่านสำโรง หรือ สี่แยกบางนา แล้วเดินทางโดยใช้รถสาธารณะ เข้าพื้นที่เป้าหมาย บางจุดมีระยะทางกว่า 30 กิโลเมตร ในย่านธุรกิจสำคัญๆ สับเปลี่ยน หมุนเวียน วันเว้นวัน  ไม่ซ้ำเวลา ทั้งในช่วงเช้า (ตั้งแต่ 06.00 น.) จนถึงช่วงค่ำ (24.00 น.) ในย่านสำคัญ อาทิ ย่านสุขุมวิท ซอยนานา , สีลม , สาธร , ตลาดประตูน้ำ , สี่แยกเกษตร ตลอดเส้นจนถึง เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน

มักจะเลือกเหยื่อทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ โดยเน้นสัญชาติ ญี่ปุ่น เกาหลี และสัญชาติจีน เป็นหลัก ไม่เว้นแม้กระทั่งชายและหญิง ที่มีการสะพายกระเป๋าเป้ไว้ทางด้านหลัง ซึ่งวิธีการก่อเหตุของกลุ่มนี้ จะทำงานกันเป็นทีมอย่างน้อย 2 คน จะลงพื้นที่เดินไปมาโดยรอบและติดตามหาเหยื่อ เมื่อพบเป้าหมายก็จะมีการแบ่งหน้าที่กันทำแบบชัดเจน โดยคนหนึ่งจะทำหน้าที่ติดตามสังเกตการณ์ตรวจตราพื้นที่โดยรอบเพื่อรอจังหวะที่จะออกคำสั่งผ่านการโทรศัพท์ในรูปแบบหูฟังไร้สาย ( Bluetooth) ไปยังอีกคนหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้เคียงเข้าเดินตามติดผู้เสียหายและเมื่อสบโอกาส คนร้ายจะทำการล้วงกระเป๋าโดยการเปิดซิปเป้สะพายหลังก่อนล้วงเอาทรัพย์สิน โดยอีกคนจะทำหน้าที่เดินบังเพื่อมิให้คนอื่นเหตุพฤติกรรมการก่อเหตุ เมื่อได้ทรัพย์ทั้งคู่จะเดินฉีกออกก่อนจะขึ้นรถโดยสารสาธารณะหลบหนี แล้วนัดกันแบ่งทรัพย์สินที่ได้มา  

จากการตรวจสอบประวัติการต้องโทษพบว่า นายบุญ หรือเจน ผู้ถูกจับเคยต้องโทษในลักษณะเดียวกันในฐานความผิด “ลักทรัพย์” เมื่อปี พ.ศ.2561 ที่ผ่านมาในชั้นจับกุม นายบุญฯ และนายจันฯ ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา โดยให้การว่า “เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ.2566 ผู้ถูกจับทั้งสองได้ลักลอบเข้าประเทศไทย ผ่านช่องทางธรรมชาติในพื้นที่ จ.สระแก้ว โดยเมื่อเข้ามาในประเทศไทย โดยไม่มีงานทำเป็นหลักแหล่ง และผู้ถูกจับทั้งสองได้รู้จักกัน คบหา และมีความสนิทสนมกันประมาณ 5 เดือน จึงได้ชักชวนเพื่อนๆที่รู้จัก รวมตัวกันศึกษา เรียนรู้ และวางแผน โดยมีเพื่อนแก็งนักล้วงกระเป๋าชาวเวียดนาม คอยให้คำปรึกษาและสอนเทคนิควิธีการล้วงกระเป๋าระดับเซียนให้กลุ่มแก็งค์นักล้วงกระเป๋าดังกล่าวจนซ้ำซอง และเดินทางเข้ามาก่อเหตุในพื้นที่แหล่งชุมชนดังกล่าวที่มีนักท่องเที่ยวและผู้คนสัญจรและชุมนุมอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อได้ทรัพย์สินที่ลักมาได้ จะโอนเงิน หรือ ซื้อเป็นทองคำรูปพรรณ ส่งกลับไปให้ภูมิลำเนาบ้าน ณ ประเทศเพื่อนบ้าน

จากการสอบสวนผู้ต้องหาทั้งสองรับว่า กลุ่มของตนได้ออกตระเวนล้วงกระเป๋าในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ไม่เว้นแต่ละวัน โดยบางวันสามารถล้วงกระเป๋าผู้เสียหายได้มากถึง 3-4 รายรวมจำนวนการก่อเหตุมากกว่า 100 ครั้ง หลังการจับกุม เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวนนครบาล จึงได้นำตัวผู้ต้องหาพร้อมของกลางส่งพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบของ สน.ทุ่งมหาเมฆ และ สภ.สำโรงเหนือ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย ต่อไป