ในทุก ๆ ปีทั่วโลกมีคนมากกว่า 7 แสนคนฆ่าตัวตายสำเร็จ โดยเฉลี่ยมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน ในทุก 40 วินาที สำหรับประเทศไทย อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 – 2563 สูงขึ้นทุกปี โดยตัวเลขล่าสุด ในปี 2565 ประเทศไทยมีคนคิดฆ่าตัวตาย ปีละ 50,000 กว่าคน ในขณะคนฆ่าตัวตายสำเร็จประมาณ 4,800 คนต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่ปัญหามาจากโรคซึมเศร้า และพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุคิดฆ่าตัวตายมากขึ้น อันเป็นเพราะปัญหาของฮอร์โมนไม่สมดุล จึงเกิดภาวะซึมเศร้า ในขณะที่กลุ่มอายุที่มีการฆ่าตัวตายสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 15 – 34 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยเรียนและวัยทำงานตอนต้น โดยมีปัจจัยหลัก คือ ปัญหาเรื่อง ความเครียด ความกดดันครอบครัว ทั้งในสถานที่ทำงานและในโรงเรียน จากการคัดกรองผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตกว่าล้านคนในประเทศไทย พบว่ามีภาวะเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากที่สุด รองลงมาเป็นเครียดสูง และเสี่ยงในการฆ่าตัวตายนี่จึงเป็นสาเหตุที่ให้ โรงพยาบาลพานาซี พระรามสอง หันมาศึกษา ภาวะเครียด ซึมเศร้า จากร่างกาย สมอง จิตใจ ที่ไม่สมดุล และค้นหาวิธีรักษาเพื่อลดการใช้ยา มุ่งใช้นวัตกรรมในแบบที่คนไข้จะมีทั้ง สุขภาพกายที่ดี สุขภาวะที่แข็งแรง เพื่อให้ จิตใจเข้มแข็ง โดยทำการเปิดตัวศูนย์จิตต์สราญ เพื่อรักษาโรคซึมเศร้า Mental Health Center พร้อมจัดงานเสวนา “Mental Well-Being สุขภาพจิตอ่อนไหว หรือข้างในไม่สมดุล” งานเสวนาที่ได้รับเกียรติจากผู้บริหารรพ.พานาซี คุณหมอ และบุคลากรชื่อดังในด้านจิตวิทยาเข้าร่วมแชร์ความรู้แก่ผู้ร่วมงาน อาทิ คุณศิริญา เทพเจริญ กรรมการบริหาร PANACEE MEDICAL CENTER , คุณยุรนันท์ ภมรมนตรี ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ PANACEE MEDICAL CENTER , นพ.โอม สุดชุมแพ (ผู้อำนวนการ พานาซีเวลล์เนส เขาใหญ่ และแพทย์ที่ปรึกษาประจำโรงพยาบาลพานาซีพระราม 2 ,พญ.พิยะดา หาชัยภูมิ จิตแพทย์ / นักแต่งเพลง และ ที่ปรึกษาด้าน People & Mindful Leadership , นพ.ภัทรพล คำมูลตรี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพานาซี พระราม 2 และ คุณเขื่อน ภัทรดนัย นักจิตวิทยา เพื่อร่วมเสวนาถึงปัญหาของโรคซึมเศร้า และภาวะเสี่ยงการเป็นโรคซึมเศร้าที่กำลังเป็นที่กังวลของสังคมไทยในยุคนี้นายแพทย์ โอม สุดชุมแพ แพทย์ชำนาญการด้าน functional medicine and integrative mental health หัวแรงสำคัญของการสร้างองค์ความรู้เพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งกายใจ ของโรงพยาบาลพานาซี พระราม 2 ได้กล่าวว่า “จริงๆ สมอง ร่างกาย จิตใจ สัมพันธ์กันหมด เราทราบกันดีว่าการกินอาหารที่มีประโยชน์ย่อมช่วยให้ร่างกายแข็งแรง แต่ว่าอาหารไม่ได้ช่วยให้พลังงานหรือทำให้ร่างกายแข็งแรงเท่านั้น การกินอาหารที่ดีมีประโยชน์สามารถช่วยในการทำงานของสมองได้เช่นเดียวกัน มีวิตามินบางชนิดที่ช่วยในเรื่องของสารสื่อประสาท เช่น วิตามิน B6 กรดอะมิโน หรือโปรตีนบางชนิด ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตาม ถ้าเราขาดสารอาหารเหล่านี้ ก็จะทำให้สารสื่อประสาทของสมองผิดพลาดได้”​“ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีระดับเซโรโทนินที่ต่ำกว่าปกติ จึงจำเป็นต้องกินอาหารที่มีความสามารถในการเพิ่มระดับ เซโรโทนิน หรืออาหารจำพวกโปรตีน สามารถสร้างสารสื่อประสาท เช่น ฟีนิลอะลานีน ไทโรซีน ทำให้สมองทำงานได้ตามปกติ ดังนั้นขั้นตอนการรักษาของเรา จะเป็นการตรวจหาสารอาหารในร่างกาย และตรวจหาระดับฮอร์โมนที่มีผลต่อภาวะเครียด เช่น ฮอร์โมนคอร์ติซอล เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด เมื่อร่างกายเครียด ฮอร์โมนตัวนี้จะถูกกระตุ้นให้หลั่งมากขึ้น เราเชื่อว่าการรักษาโรคซึมเศร้า ไม่ใช่เพียงแค่จะทานยาเคมี เพียงอย่างเดียว แต่สิ่งสำคัญคือ การตรวจหาต้นตอ ที่อาจจะเป็นสาเหตุของภาวะเครียด เช่น การนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจจะเป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน”นพ.โอม ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงขบวนการรักษาโรคซึมเศร้าแนวใหม่ของ ศูนย์จิตต์สราญ โรงพยาบาลพานาซี พระรามสอง ว่า “หลังจากการตรวจหาสารอาหาร หรือ ฮอร์โมนขั้นต้นแล้ว เรามีการตรวจยูรีน เพื่อหาความผิดปกติต่างๆ ของสารในร่างกาย จากนั้นขั้นตอนของการรักษาที่ศูนย์จิตต์สราญ เราสร้างความเข็มแข็งของสุขภาวะกาย และใจ ด้วยการ ใช้ IV treatment เพื่อให้ปรับสมดุล การเติมสารอาหารบางอย่างที่ร่างกายต้องการ ตลอดจนการรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด ทั้งการทา หรือการรับประทาน อีกทั้งการรักษาร่วมอีกหนึ่งศาสตร์ที่เราได้นำมาใช้ คือ scientific therapeutic essential oil เพื่อการบำบัดด้วยกลิ่น น้ำมันหอมระเหยมีผลต่อจิตใจ การที่เราได้กลิ่นหรือสูดดมกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยเข้าไปนั้น กลิ่นจะเดินทางไปยังสมองส่วนลิมบิกโดยตรง ซึ่งสมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึกและฮอร์โมน ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองโดยอัตโนมัติที่เกิดขึ้นกับจิตใจนั่นเอง” คุณหมอโอม ได้อธิบายถึงการนำกลิ่นมาใช้เพื่อการบำบัดภาวะซึมเศร้า ซึ่งถือเป็นหนึ่งในการรักษาสำคัญของโรงพยาบาลพานาซี พระรามสองนอกจากที่ รพ.พานาซี พระรามสอง จะเป็น ศูนย์บำบัดจิตใจแล้ว พานาซี เขาใหญ่ ก็ถือเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ได้นำศาสตร์แห่งการสร้างสมดุลกายใจ เพื่อการบำบัดภาวะเครียด และการรักษาโรคซึมเศร้าด้วยเช่นกัน “ที่เขาใหญ่ เราเน้น ศาสตร์ที่เรียกว่า Therapeutic landscape and psychiatric care facilities หรือการนำทัศนียภาพ วิวทิวทัศน์ที่สวยงามมาใช้ในการบำบัดจิตใจ ยิ่งถ้าได้เห็นภูเขา อยู่ท่ามกลางแมกไม้สีเขียวแล้ว คนไข้ย่อมผ่อนคลายได้ง่ายขึ้น” คุณหมอโอม กล่าวพานาซีเขาใหญ่ สถานที่ที่เรียกว่า มีเพียงหนึ่งเดียวที่มี facilities ดังกล่าว เนื่องจาก พานาซี เขาใหญ่ ตั้งอยู่ท่ามกลางขุนเขาที่สวยงาม พร้อมด้วยอากาศที่ติด 1 ใน 10 ของโลก ที่มีโอโซน ในปริมาณที่มาก ทางพานาซีเขาใหญ่ จึงสร้างความแตกต่างด้วยการเปิดศูนย์ retreat mind and body เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการลดภาวะความเครียด และต้องการเข้าแคมป์บำบัดโรคซึมเศร้าอีกด้วย