นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการโรงกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าขององค์กรปกครอง ว่า ในประเด็นดังกล่าว ทางคณะกรรมาธิการฯ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงความคืบหน้าของโครงการหลายครั้ง จากกรณีดังกล่าว ตัวแทน กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงพลังงาน (พน.) และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ชี้แจงข้อมูล ไม่มีความคืบหน้าใดๆ คณะกรรมาธิการฯ ได้มีความเห็นให้หน่วยงานต่างๆเร่งรัดการพิจารณาโครงการ มท. ควรลดขั้นตอนการพิจารณาให้สอดคล้องกับวาระการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การพิจารณาไม่ควรพิจารณาอนุมัติเป็นรายกลุ่ม ก่อนเสนอให้ พน. และ มท. ควรปรับหลักเกณฑ์การพิจารณาโดยคำนึงถึงความพร้อม และความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการฯ แต่ละแห่งเป็นหลัก และพิจารณาอนุมัติให้เร็วขึ้น
ธารา ปิตุเตชะ รองประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร และ ส.ส.จังหวัดระยอง
“มท.ควรทยอยส่งโครงการให้ พน.พิจารณาดำเนินการในโครงการที่มีความพร้อม ไม่ควรเสนอโครงการเป็นกลุ่มๆ การพิจารณาจะได้เร็วขึ้น โครงการที่ประกาศรับซื้อไฟไปแล้ว 34 โครงการ เห็นชอบ โครงการ ตั้งแต่ปี 61 เพิ่งมาประกาศรับซื้อไฟเมื่อปี 65 ส่วนที่เหลืออีก 21 โครงการ มท.ชี้แจงว่าต้องรอให้ พน.กำหนดอัตรารับซื้อไฟใหม่อีก ซึ่งเรื่องนี้ไม่ควรถามกลับไปกลับมา ควรใช้ราคาเดิม ตามที่ กพช.ประกาศไปเมื่อ 6 พ.ค.2565 มท.ไม่ควรสอบถามกลับไปยัง พน. หน้าที่ของ มท.คือการพิจารณาโครงการว่าถูกต้องตามระเบียบเงื่อนไขที่กำหนดไว้หรือไม่ เมื่อโครงการมีความพร้อมควรเสนอให้ พน. พิจารณาต่อไปจะได้ไม่ล่าช้า”
นายธารา ปิตุเตชะ รองประธานกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร และ ส.ส.จังหวัดระยอง กล่าวว่า เรื่องนี้กรรมาธิการได้ข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด แต่หน่วยงานต่างๆ ไม่ทำกัน ทั้งๆที่ปัญหาการกำจัดขยะเป็นวาระแห่งชาติของรัฐบาล อย่างพื้นที่ระยอง มีขยะมีมากกว่า 1,000 กว่าตันต่อวัน คัดแยกใช้เป็นเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้าขยะ RDF ระยะที่ 1 วันละ 500 ตัน เหลือขยะอีกวันละ 600-700 ตัน ที่นำไปฝังกลบที่บ่อ อบจ.ระยอง และบ่อนี้ฝังกลบขยะได้อีก 6-7 เดือนเท่านั้น บ่อขยะเต็มแล้วไม่รู้จะหาพื้นที่ที่ไหนฝังกลบได้ เพราะชาวระยองเขาไม่เอาบ่อฝังขยะกัน
ชูศักดิ์ วงษ์สวัสดิ์ ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการ และอดีตรองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.)
“ปริมาณขยะที่ระยอง หลังจากโควิค มีปริมาณขยะวันละ 1,200 ตันกว่าตัน โครงการโรงไฟฟ้าขยะ ระยะที่ 2 ของระยอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งพิจารณาโดยเร็ว เพื่อที่จะได้กำจัดขยะที่เหลืออีก 600-700 ตัน ควรออกระเบียบการรับซื้อไฟให้โดยเร็ว หากชักช้าอีกเพียงปีเดียว ระยองขยะล้นเมืองแน่นอน แล้วอย่างนี้การกำจัดขยะจะเป็นวาระแห่งขาติได้อย่างไร”
นายชูศักดิ์ วงษ์สวัสดิ์ ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการ และอดีตรองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) กล่าวว่า เรื่องปัญหาการจัดการขยะเป็นเรื่องปัญหาสำคัญ รัฐบาลถึงได้ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ ที่ต้องเร่งแก้ไข ด้วยการส่งเสริมให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าขยะในพื้นที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เสนอมา แต่การส่งเสริมพบว่า โครงการที่เสนอมา การอนุมัติอนุญาตมีความล่าช้ามาก สวนทางกับนโยบายการเป็นวาระแห่งชาติ และขณะภาคเอกชนที่จะเข้ามาทำโรงงไฟฟ้าในพื้นที่ อปท.ต่างๆ มีความพร้อมทั้งเทคโนโลยี และนวัตกรรมในการกำจัดขยะที่มีประสิทธิภาพสูง ที่จะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาขยะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้โครงการล่าช้าเอง ไม่เข้าใจในบทบาทอำนาจหน้าที่ของตน และยังเพิ่มขั้นตอนการพิจารณาเข้าไปโดยไม่จำเป็น ทั้ง มท. พน. กกพ. ไม่เข้าใจในบริบทอำนาจหน้าที่ที่ตนมี ส่งผลมีถึงปัจจุบันนี้
“มท. รับผิดชอบขั้นตอนให้ได้มาซึ่งคู่สัญญาโครงการกำจัดมูลฝอยเพื่อผลิตไฟฟ้า ไม่มีการกำหนดคู่มือขั้นตอน กำหนดเวลาการพิจารณา รวมถึงไม่ควรพิจารณาโครงการเป็นล็อตๆ ดังที่ทำอยู่ในปัจจุบัน และไม่ควรต้องส่งให้ พน.พิจารณาอีก ซึ่งเห็นว่าเป็นการนอกเหนืออำนาจ สถ.ควรเร่งประกาศโครงการที่มีความพร้อมเพื่อให้ อปท.ท้องถิ่นดำเนินการหาคู่สัญญาโครงการโดยเร็ว เพื่อให้คู่สัญญาฯ ไปยื่นข้อเสนอขอขายไฟฟ้าต่อการไฟฟ้า ตามขนาดกำลังการผลิตต่อไป โดยการไฟฟ้าจะเป็นผู้พิจารณาความพร้อม ทั้ง 6 ด้าน แบบ First come first serve ตามระเบียบที่ กกพ.กำหนด ดังนั้นสิ่งที่ภาครัฐควรทำคือ ให้ สถ.เร่งรัดออกคู่มือขั้นตอน ระยะเวลาการพิจารณาโครงการ โดยอ้างอิงกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.อำนวยความสะดวก รวมถึงกรอบในการจัดทำ TOR และค่ากำจัดขยะให้ชัดเจน ในส่วน กพช. เองก็ควรปฎิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมาย พ.ร.บ. คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กำหนด อำนาจหน้าที่ไว้เท่านั้น ไม่ควรเข้าแทรกแซงหรือทำงานทับซ้อนกับอำนาจของ กกพ. นั่นคือกำหนดแค่นโยบายปริมาณในการรับซื้อไฟ รวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดราคารับซื้อ ไม่ควรไปพิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการ สำหรับ กกพ.ก็ควรทำหน้าที่กำหนด ระเบียบ ประกาศ ในการรับซื้อและทำหน้าที่ในการกำกับดูแล หากการพิจารณาโครงการดำเนินตามบริบทของตัวเอง โครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนคงเกิดเป็นรูปธรรมสนองนโยบายรัฐได้มากกว่าที่เป็นอยู่”“จากการชี้แจ้งของหน่วยงาน ทั้ง มท. พน. กกพ. ดูเหมือนว่ายังไม่เข้าใจอำนาจหน้าที่ของตน ต่างโยนกันไปกันมา หน้าที่ของกรรมาธิการ เราต้องการให้นโยบายที่เป็นวาระแห่งดำเนินการไปอย่างราบรื่น และแก้ไขปัญหาของประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานต่างๆควรนำข้อเสนอแนะของกรรมาธิการไปใช้ เชื่อว่าปัญหาต่างๆ จะได้รับการแก้ไขรวดเร็วขึ้น หากยังคงเป้นอย่างนี้ จะเกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย หน่วยงานทั้ง 3 หน่วยงานต้องรีบเร่งแก้ไข เพื่อตอบสนองต่อนโยบายของรัฐที่กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งการแก้ไขต้องการให้เกิดขึ้นในชาตินี้ มิใช่ชาติหน้า”