นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การประกาศของธนาคารกลางเมียนมากำหนดไม่ให้ภาคเอกชนชำระหนี้ต่างประเทศด้วยเงินสกุลต่างประเทศไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น และการปิดประเทศเกิดอยู่หลายครั้ง เพราะมีเหตุการณ์ความไม่สงบเป็นระยะล่าสุดในปี 2564 และได้ประกาศเลือกตั้งทั่วไปในไตรมาส 2 ปี 2566 เมื่อปิดและเปิดเร็วเพื่อเคลียร์ปัญหาในประเทศ นักลงทุนจึงไม่ตระหนกมากเพราะเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐในเมียนมามีค่อนข้างจำกัด เพราะต้องชำระหนี้ 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ทุนสำรองของเมียนมาเป็นดอลาร์สหรัฐมีเพียง 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือมีภาระหนี้ต่างประเทศประมาณร้อยละ 10 เนื่องจากสกุลเงินจ๊าด มีปัญหา

ทั้งนี้เมื่อต้องชำระหนี้เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ความมั่นคงทุนสำรองระหว่างประเทศและสภาพคล่องภายในประเทศมีปัญหา จึงต้องประกาศห้ามภาคเอกชนชำระหนี้สกุลดอลาร์สหรัฐในช่วงนี้ ส่วนการลงทุนของภาคเอกชนไทยในเมียนมา 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีขนาดเท่ากับการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สปป.ลาว กัมพูชา ขณะที่การลงทุนในเวียดนามสูงกว่าหลายประเทศ ในส่วนของการลงทุนเมียนมาแบ่งเป็นสองส่วนคือ ด้านพลังงานร้อยละ 55-60 ที่เหลือเป็นการตั้งโรงงานกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคร้อยละ 35-40 โดยการลงทุนของไทยทั้งสองส่วนไม่ได้อยู่ในประกาศฉบับนี้ เพราะเป็นการซื้อขายตามรายการซื้อสินค้าซื้อมาขายไป จึงไม่ใช่การชำระหนี้

โดยในส่วนของเอ็กซิมแบงก์ เมื่อภาคเอกชนมีรายได้จะให้เปิดบัญชีในการรับโอนเงิน และหักในส่วนเงินต้นและดอกเบี้ยส่วนที่เหลือจะคืนให้กับลูกค้า การให้สินเชื่อบริษัทลูกเพื่อไปลงทุนในเมียนมาร์ หากค้างชำระหนี้ยังติดตามจากบริษัทแม่ในกรุงเทพฯได้ เพราะมีบริษัทแม่ดูแล อีกทั้งภาคเอกชนขนาดใหญ่ของเมียนมาจะเปิดบัญชีต่างประเทศเช่น ไทย สิงคโปร์ ไม่ได้เปิดบัญชีในเมียนมา เพื่อใช้ซื้อขายสินค้าวงเงินเหล่านั้นเกิดนอกกเมียนมา ธุรกรรมดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในประกาศธนาคารกลางเมียนมา

สำหรับผู้ต้องชำระเงินใช้จ่ายในเมียนมาหนักสุดประมาณร้อยละ 15-20 เป็นผู้ได้รับผลกระทบ เอ็กซิมแบงก์ จึงพร้อมขยายหนี้ จากเดิมชำระเงินต้นดอกเบี้ยประจำทุกเดือน เปิดให้ขยายเป็นสิ้นปี 2565 เพื่อปรับเทอมชำระหนี้ ปรับวงเงินจากเดิมเหมือนกับการผ่อนชำระเงินงวดบ้าน จากเดิมรายเดือนเปลี่ยนเป็นราย 6 เดือน โดยเงินต้นและดอกเบี้ยเท่าเดิม นับว่าระยะเวลาชำระหนี้ใหม่ สอดคล้องกับคำประกาศของเมียนมา ยอมรับว่า ธนาคารกลางเมียนมาจะไม่ประกาศเป็นเวลานาน 100-180 วัน อาจนานเกินไป โดยการค้าขายชายแดนไทย-เมียนมาใช้สกุลเงินบาทเป็นหลัก แม้ว่าเมียนมายังปัญหาเศรษฐกิจ แต่การส่งออกไปยังเมียนมายังเติบโตได้ถึงร้อยละ 12 อีกทั้งการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำยิ่งทำให้แรงงานต่างด้าวไหลเข้ามามากขึ้น มองว่าปัญหาเศรษฐกิจโลกขณะนี้ การค้าขายตามแนวชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านยังเติบโตสูงมาก ทั้งกัมพูชา เวียดนาม เติบโตเกินร้อยละ 20 จึงควรหันมาค้าขายกับอาเซียนดีกว่า เพราะแม้จะปิดประเทศ แต่ต้องกินต้องใช้ ทำให้การส่งออกจากไทยยังเติบโต