นักวิเคราะห์ชี้“เงินเฟ้อ” ยังคงมีแนวโน้มที่พุ่งขึ้นสูงเรื่อยๆ ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจของอาเซียน โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 0.9% ในเดือนมกราคม ปี 2021 เป็น 3.1% ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.7% เมื่อเดือนเมษายน ปี 2022 ที่ผ่านมา ส่วนเงินเฟ้อล่าสุดของแต่ละประเทศในอาเซียน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา…

1. มาเลเซีย 2.8%
2. เวียดนาม 2.86%
3. บรูไน 3.2%
4. อินโดนีเซีย 3.55%
5. ฟิลิปปินส์ 5.4%
6. สิงคโปร์ 5.6%
7. ไทย 7.1%
8. กัมพูชา 7.2%
9. ลาว 12.8%
10. เมียนมา 13.82%

อย่างไรก็ดี แม้ต้องเผชิญหน้ากับ “เงินเฟ้อในระดับสูง” แต่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่ ยังคงไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมเงินเฟ้อ เหมือนเช่นที่ เฟด ลงมือทำแล้ว โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อว่า เหตุที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศในอาเซียนยังคงไม่ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นเพราะอาเซียนต้องการรักษาการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ด้วยการกระตุ้นการลงทุนและการบริโภคจากภาคเอกชนต่อไป เพราะอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นจะมีผลต่อต้นทุนในการกู้ยืมสำหรับทั้งภาคธุรกิจและผู้บริโภคและการลงทุนในโครงการต่างๆ