ฟอร์จูน รายงานเมื่อวันที่ 23 ก.ย. ว่า สิงคโปร์ขึ้นแท่นแซงหน้าฮ่องกงเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจอันดับที่ 1 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 2565 แทนที่ฮ่องกงที่ตกไปอยู่อันดับที่ 2 โดยในการจัดอันดับดัชนีศูนย์กลางการเงินโลก GFCI (Global Financial Centres Index) ที่ถูกรวบรวมโดยธิงแทงก์ Z/YEN ที่มีฐานอยู่ในกรุงลอนดอนและสถาบันการพัฒนาจีน (China Development Institute) จัดทำลำดับเมืองต่างๆ ทั่วโลก 119 เมืองโดยใช้ฐานข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญทางการเงินจำนวนมากผ่านการตอบแบบสอบถาม
ฮ่องกง
ในการจัดลำดับดัชนีศูนย์กลางการเงินโลก 20 ลำดับแรกของโลกพบว่าเป็นของ
#1 นิวยอร์ก
#2 ลอนดอน
#3 สิงคโปร์
#4 ฮ่องกง
#5 ซานฟรานซิสโก
#6 เซี่ยงไฮ้
#7 ลอสแองเจลีส
#8 ปักกิ่ง
#9 เซินเจิ้น (จีน)
#10 ปารีส
#11 โซล
#12 ชิคาโก
#13 ซิดนีย์
#14 บอสตัน
#15 กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
#16 โตเกียว
#17 ดูไบ (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)
#18 แฟรงก์เฟิร์ต
#19 อัมสเตอร์ดัม
#20 เจนีวา
เซินเจิ้น
ฟอร์จูน ระบุว่า “ฮ่องกง” ที่หล่นไปอยู่อันดับที่ 4 ของศูนย์กลางการเงินโลกและกลายเป็นอันดับที่ 2 ของภูมิภาคจากการที่ฮ่องกงประสบปัญหานอกจากประเด็นสมองไหล ยังรวมไปถึงการแก้ปัญหาโควิด-19 ของตัวเองที่ยังต้องเดินตามนโยบายของรัฐบาลกลางปักกิ่งในการทำให้โควิด-19 เป็นศูนย์ ต่างจากรัฐบาลสิงคโปร์ที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและยังสามารถเปิดพรมแดนสู่โลกภายนอกได้สำเร็จ ต่างจากฮ่องกงและเมืองใหญ่ๆ ของจีนเป็นต้นว่า เซี่ยงไฮ้ กรุงปักกิ่ง และเมืองเซินเจิ้นที่ใช้มาตรการควบคุมเคสโควิด-19 ให้ได้น้อยที่สุด ส่งผลทำให้ยังคงปิดพรมแดนและถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ในขณะที่ทั่วโลกส่วนใหญ่เปิดพรมแดนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ขณะที่ “กรุงเทพฯ” ถูกจัดลำดับให้เป็นศูนย์กลางการเงินระดับโลกในอันดับที่ 79 และอยู่ในลำดับที่ 21 ของภูมิภาคจากทั้งหมด 32 เมืองทั่วเอเชียแปซิฟิก โดยกรุงกัวลาลัมเปอร์ ของมาเลเซียถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 56 ของโลก และเป็นลำดับที่ 17 ของเอเชียแปซิฟิก