“พริกไทย” กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างมากมาย ถ้าพูดถึงแหล่งปลูกพริกไทยจะนิยมมากแถบภาคตะวันออก แถวจันทบุรี ซึ่งเป็นแหล่งที่ปลูกกันมากจนยึดเป็นอาชีพหลัก ส่วนพื้นที่ภาคอีสานแถวจังหวัดเลย ภาคเหนือ จ.สุโขทัยนิยมปลูกเมล็ดขายกันมากมาย

และอีกแห่งหนึ่งที่ขึ้นชื่อมาก ในเรื่องการเพาะปลูกพริกไทยดำ, พริกไทยแดงและพริกไทยขาวเป็นสายพันธุ์พื้นเมือง คือ แถวอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง เกษตรกรพัฒนาพื้นที่ในท้องถิ่นทำกันมาหลายปี โดยเน้นสายพันธุ์ดั่งเดิม จนสามารถพัฒนาโปรดักส์สร้างแบรนด์ “Black Gold” จัดหน่ายในประเทศและส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ทั้งยุโรปและอเมริกา

สำหรับตลาดยุโรป ส่งไปจำหน่ายที่เนเธอร์แลนด์ ส่วนตลาดในแถบเอเชียส่งออกไปยังสิงคโปร์ ซึ่งสินค้าส่งออกตลาดต่างประเทศยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ส่วนใหญ่ตลาดในประเทศยังมีความต้องการสูง ซึ่งพริกไทยตรัง จะมีชื่อเสียงในตลาดไทยและตลาดนอก เนื่องจากคุณภาพ สภาพพื้นเพาะปลูก อากาศที่เหมาะกับการเพาะปลูกพริกไทยสูง ที่สำคัญ พริกไทยจะรสไม่เผ็ดร้อนมาก  ด้วยสภาพอากาศร้อนชื้น พริกไทยจะไม่ชอบขึ้นตามป่าเขา

 กันต์หทัย จิตรไมตรีเจริญ ผู้บริหารฝ่ายการตลาด  บริษัท แบล็คโกลด์ เกรชเซอร์ จำกัด กล่าวถึงสวนพริกไทยตรัง ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งบอกทางภูมิศาสตร์ (GI) เนื่องจากสภาพพื้นที่การปลูกทางภูมิศาสตร์ จ.ตรัง ตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาบรรทัด ทอดยาวไปจนถึงคาบสมุทรมาลายู  ทำให้อิทธิพลจากแสงแดดและลมมรสุมจากทะเลอันดามันและอ่าวไทย ประกอบกับได้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดมานานร่วม 100 ปี

ถ้าย้อนดูพริกไทย สายพันธุ์จันบูร จะมีความแตกต่างเรื่องเมล็ดจะใหญ่กว่าทางใต้ ถ้าปลูกแถวจังหวัดพิจิตร จะนิยมกินพริกไทยสด สำหรับพริกไทยตรังขาว ลักษณะจะสุกแดงกล่ำคาต้นที่มีเพียง 15% ของผลผลิตทั้งหมด การเก็บและคัดแยกด้วยมือ แล้วนำมาแช่น้ำข้ามคืนและนวดให้เปลือกออก ปราศจากการฟอกสี เผยให้เห็นเมล็ดสีขาว ทำให้พริกไทยมีกลิ่นและหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ส่วนพริกไทยแดงตรังที่สุกบนต้นมีเพียง20% ของผลผลิตทั้งปี จะใช้ขบวนการเก็บคัดแยกสีอย่างพิถีพิถัน นำมาล้างทำความสะอาดและตากแห้งด้วยตู้พลังงาน  ใช้แสงอาทิตย์ให้เกิดกระบวนการแห้งอย่างช้าๆตามธรรมชาติ เพื่อสร้างคุณค่าสูงสุดของพริกไทยสีน้ำตาลแดงเข้มเงาวาว มีกลิ่นหอมร้อน เป็นเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะพริกไทยแดงตรัง