นิคมฯบางชัน ผนึก! ผู้ประกอบการ ในนิคมฯ 7 บริษัท ปฏิบัติการภายใต้แผนแม่บทการยกระดับเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศปีงบประมาณ 2567 ในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่มีความเชื่อมโยงกับฐานการผลิตอุตสาหกรรมในพื้นที่ในรูปแบบการสร้างคุณค่าร่วม พัฒนาทักษะความรู้ด้านอาชีพให้แก่ประชาชนในชุมชนโดยรอบนิคมฯสร้างรายได้ที่ยั่งยืน สร้างการมีส่วนร่วมนิคมฯ-ผู้ประกอบการ-ชุมชน ใต้กรอบ ISO26000 

นางลัดดาวัลย์ อ่อนกำปัง ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมบางชัน

นางลัดดาวัลย์ อ่อนกำปัง ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมบางชัน (สนช.) และนายเกียรติชัย  ภักดีรอด ผู้จัดการบริษัท โกลบอล ยูทิลิตี้ เซอร์วิส จำกัด หน่วยงานบางชัน เปิดเผยว่า  การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยไทย (กนอ.) มีภารกิจหลักในการพัฒนายกระดับนิคมอุตสาหกรรมสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และดำเนินงานด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามมาตรฐาน ISO 26000  ปี 2567 สนช. จัดทำโครงการพัฒนาทักษะความรู้ด้านอาชีพให้แก่ประชาชนในชุมชนโดยรอบนิคมฯขึ้น เพื่อการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กนอ. ในการส่งเสริมสนับสนุน วางแผนเพื่อพัฒนาโครงการและการนำนวัตกรรมใหม่ของ Start up ที่จะสามารถนำไปใช้ต่อยอดการดำเนินงานในนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศต่อไป ในปี 2567 สนช. ได้จัดทำโครงการพัฒนาทักษะความรู้ด้านอาชีพให้ชุมชนมีรายได้ที่ยั่งยืน ในปี 2566 ชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนได้รับการรับรองเป็นวิสาหกิจชุมชนภายใต้ชื่อ “วิสาหกิจชุมชนบางชันพัฒนา” โดยมีสมาชิกชุมชนที่อยู่รอบนิคมฯบางชัน จำนวน 6 ชุมชนเป็นสมาชิก ได้แก่ชุมชนบางชันพัฒนา ชุมชนริมคลองหลอแหล ชุมชนเคหะบางชัน ชุมชนเกาะจวน ชุมชนรามทินทราเนรมิต เพื่อการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างนิคมฯบางชัน ผู้ประกอบการและชุมชน ในการสร้างการมีส่วนร่วมที่ยั่งยืนตามนโยบายของ กนอ.

นายเกียรติชัย ภักดีรอด ผู้จัดการบริษัท โกลบอล ยูทิลิตี้ เซอร์วิส จำกัด หน่วยงานบางชัน

และปี 2567 การดำเนินโครงการฯ มีผู้ประกอบการในนิคมฯ ร่วมสนับสนุน 7 ราย ได้แก่ บริษัท วันไทยอุตสาหกรรมการอาหาร จำกัด, บริษัท เพรซิเดนท์เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน), บริษัท อาร์ต อุตสาหกรรม จำกัด, บริษัท มิตซูบิชิอีเล็คทริก ออโต้เมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท โตโยอิ๊งค์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท จินซาน อิเล็คโทรนิค อินดัสเทรียล (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีแผนงานและเป้าหมายร่วมกันเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่มีความเชื่อมโยงกับฐานการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ สร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้ชุมชน ตามกรอบ ISO 26000  ให้ชุมชนรอบนิคมฯ ได้รับการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และได้รับการรับรองขึ้นทะเบียนการเป็นวิสาหกรรมชุมชนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นการพัฒนา การบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมอย่างมีส่วนร่วมและยกระดับการกำกับดูแล มิติ เศรษฐกิจชุมชน (Economic Equity)

“นิคมฯบางชันและพันธมิตรผู้ประกอบการนิคมฯ ได้ดำเนินโครงการการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง จนในปี 2566 ชุมชนที่ได้รับการพัฒนาได้การรับรองเป็น “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบางชันพัฒนา” ขึ้น โดยมีสมาชิก 6 ชุมชน ที่อยู่รอบนิคมฯ เป็นสมาชิก ในปี 2567 นี้ นิคมฯบางชัน และพันธมิตร ได้ทำการส่งเสริมและสนับสนุน จัดทำศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนขึ้น เพื่อการจำหน่ายสินค้าของสมาชิก ซึ่งเป็นสินค้าอาหารพร้อมทาน ได้แก่ ปลาแดดเดียว ไข่เค็ม ข้าวไก่ทอด แหนนทอด น้ำพริก ข้าวมันไก่ อาหารชุดต่างๆ พร้อมทั้งอาหารว่าง เพื่อผู้ประกอบการ แรงงานโดยตรง พร้อมกันนั้นยังทำการส่งเสริมสร้างฐานการผลิต และการจำหน่ายเดลิเวอรี่ การจำหน่ายออนไลน์ แก่กลุ่มวิสาหกิจ ให้เข้าถึงตลาดของผู้ประกอบการ แรงงานที่อยู่ในนิคมฯ จำนวนกว่า 60 โรงงาน คาดว่าจะได้รับการส่งเสริมสนับสนุนการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป็นอย่างดี”

นายธนวัฒน์ อยู่เจริญ ผู้จัดการฝ่ายบริหารงานบุคคล บริษัท โตโยอิ๊งค์ (ประเทศไทย) จำกัด

นายธนวัฒน์  อยู่เจริญ  ผู้จัดการฝ่ายบริหารงานบุคคล และนายธาริน ศรีรัตน์  หัวหน้าฝ่ายอาวุโสฝ่ายบริหารงานบุคคล บริษัท โตโยอิ๊งค์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ได้เข้าร่วมกับนิคมฯบางชัน ในการดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมอาชีพชุมชนตามกรอบ ISO 26000 อย่างต่อเนื่องเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและยกระดับ การที่นิคมฯบางชัน เป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับ Eco Excellence ในปี 2567 การดำเนินโครงการดังกล่าว ทางบริษัทฯ ได้ร่วมสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์เครื่องครัวในการประกอบอาหารให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบางชันพัฒนา ที่มีสมาชิกชุมชนรอบนิคมฯบางชัน 6 ชุมชน จำนวนสมาชิกกว่า 30 คน ในการจัดตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าของกลุ่มวิสาหกิจ เพื่อการสร้างความยั่งยืนการมีส่วนร่วมระหว่างนิคมอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ และชุมชน เพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืน

“บริษัท โตโยอิ๊งค์ (ประเทศไทย) จำกัด ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมระหว่างนิคมฯกับบริษัท เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่มีความเชื่อมโยงกับฐานการผลิตอุตสาหกรรมในพื้นที่ในรูปแบบการสร้างคุณค่าร่วม ตามพันธกิจ ของกลุ่มบริษัทฯ ในการมุ่งมั่นแก้ปัญหาที่กระทบต่อสังคม ด้วยความยั่งยืน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงคุณภาพชีวิต ตามที่ระบุไว้ในวิสัยทัศน์ระยะยาว ของกลุ่ม ” Scientific Innovation Chain 2027″ เพื่อให้บริษัทฯ บรรลุวัตถุประสงค์การเติบโตอย่างยั่งยืนในปี 2027 ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญและมีความมุ่งมั่นแก้ไขวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลก ผ่านผลิตภัณฑ์และเคมีประยุกต์ของเรา โดยตอบสนองความต้องการของตลาดบรรจุภัณฑ์ เพื่อการรีไซเคิ้ล การใช้ซ้ำ และสนับสนุนการใช้พลาสติกประเภทเดียวกันทั้งหมด (Mo-no Material) ทั้งนี้บริษัทฯ ยังตระหนัก และเล็งเห็นถึงความสำคัญของพลังงานทดแทน หรือ Renewable Energy ซึ่งจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม สามารถนำกลับมาใช้งานภายในโรงงานหรือองค์กร อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ โดยทางบริษัทฯได้ทำการติดตั้ง Solar Rooftop บริเวณชั้นดาดฟ้าของตึกที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกล์ และนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ทั้งหมดนี้ เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจและเป็นการช่วยกันสนับสนุนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด”