# สคบ. จัดประชาพิจารณ์(ร่าง)กฎกระทรวง กำหนดข้อความโฆษณาเครื่องรางของขลังหรือบริการที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ฯ
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 เวลา 9.00 น-12.00 น ณ. ห้องประชุม 5 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา  ถนนแจ้งวัฒนะกรุงเทพมหานคร 
สคบ. จัด” โครงการ
รับฟังความคิดเห็นต่อ(ร่าง)
” กฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาเครื่องรางของขลังหรือบริการที่ เป็นการ ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม พ.ศ…….”
โดยมีนายธสรณ์อัฑฒ์
ธนิทธิพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  เป็นประธานพิธีเปิดฯ 
และมี
นายวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์
อัยการศาลสูงจังหวัดสมุทรปราการ ในฐานะ
ประธานคณะอนุกรรมการป้องกันหรือระงับยับยั้งความเสียหายหรืออันตรายอันจะเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภค เป็นประธานการรับฟังความคิดเห็นต่อ(ร่าง) กฎกระทรวงฯ และร่วมเป็นวิทยากร
โดยการรับฟังความคิดเห็นต่อ(ร่าง)กฎกระทรวงฯ ในวันนี้ มี “ผู้ประกอบธุรกิจ”
เข้าร่วมจำนวนมาก เช่น 
โอช้อปปิ้ง , ช้อปปี้ , บริษัท Tepa , ซีพีออลล์, แรบบิท ไลน์เพย์ , บริษัท ทรูคอร์เปอเรชั่น จำกัด , สื่อมวลชน ช่อง 3 และช่อง 7 HD , หน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  , กรมการศาสนา  กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจสังคม  , สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
(กสทช. ) , กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ) , และมีสมาคม ชมรม เข้าร่วม เช่น สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย , สมาคมโหรแห่งประเทศไทย , สมาคมเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค , เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคไทย และ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ฯลฯ เข้าร่วมโครงการรับฟังความคิดเห็น ทั้งระบบ Online และ Onsite
ในการรับฟังความคิดเห็นในวันนี้ ผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นด้วยในหลักการที่ สคบ.จะพิจารณาออก “กฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาเครื่องรางของขลังหรือบริการที่เป็นการ ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือ
ที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม พ.ศ…….” และเห็นด้วยใน”เนื้อหา” ตามร่างกฎกระทรวง ฯ ฉบับนี้
ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป ผู้มีส่วนได้เสีย ผู้เกี่ยวข้อง ได้แสดงความคิดเห็นต่อ (ร่าง) กฎกระทรวง ฯ ฉบับนี้ สคบ. จะนำ (ร่าง)
กฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาเครื่องรางของขลังหรือบริการที่ เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม พ.ศ…….” เข้า website ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ต่อไปอีก 30 วัน
จากนั้นจะได้รวบรวมความเห็นมาทบทวนเพื่อออก
“กฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาเครื่องรางของขลังหรือบริการที่ เป็นการ ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม พ.ศ…….”ต่อไป