มารู้จัก “ พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ” กันเถอะ *

“ หลอกให้กด link  แล้วถูกดูดโอนเงิน”

“ หลอกให้กดดูเพจ แล้วถูกดูดเงิน โอนเงิน ”

“ แ๊งค์ CALL CENTER หลอกให้โอนเงิน”

“ หลอกให้ร่วมลงทุนออนไลน์ ”

“ ซื้อของออนไลน์ ได้ของไม่ตรงปก”

“ ทำอย่างไรจึงจะอายัดเงินทัน”

            ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีซึ่งมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และสังคมเป็นวงกว้าง เพราะปัจจุบันมี ผู้เสียหาย ผู้ถูกหลอก ที่สูญเสียเงินเป็นจำนวนมากให้แก่ มิจฉาชีพ หรือผู้ก่อเหตุที่ใช้ความสามารถทางระบบเทคโนโลยีในการกระทำผิด โดยใช้ความไม่รู้เท่าทันของเหยื่อ ,ใช้ความกลัวของเหยื่อ, ใช้ความโลภของเหยื่อ, ใช้ความอยากรู้ อยากดูของเหยื่อ เป็นจุดล่อให้เหยื่อไปติดกับดัก และเมื่อเหยื่อหลงเชื่อไปกดดู, ไปทำตาม, ไปร่วมลงทุน หรือไปสั่งซื้อ ก็จะถูกคนร้ายใช้ระบบเทคโนโลยีเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์  เข้าถึงบัญชีเงินฝาก เข้าถึงบัตรอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งบัญชีเงินฝากอิเล็กทรอนิกส์แล้วยักย้ายถ่ายเทเงินออกจากระบบ หรือบัญชีเงินฝากของเหยื่อ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยเรื่อย หากไม่มีกฎหมายใดมาระงับยับยั้งความเสียหายดังกล่าว ย่อมเกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้  

          ดังนั้น เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 จึงได้มีการประกาศใช้บังคับ “ พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566”( มีผลใช้บังคับวันที่ 17 มีนาคม 2566)

       ทำไมต้องออกเป็น “ พระราชกำหนด

​​เนื่องจาก ปัจจุบันมีการใช้  “ วิธีการทางเทคโนโลยีหลอกลวงประชาชนทั่วไปผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ จนทให้ประชาชนสูญเสียทรัพย์สินเป็นจนวนมาก และ ผู้หลอกลวงได้โอนทรัพย์สินที่ได้จากการกระทความผิดดังกล่าวนั้น ผ่านบัญชีเงินฝาก , บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของบุคคลอื่นต่อไปเป็นทอด ๆ อย่างรวดเร็ว เพื่อปกปิดหรืออพรางการกระท ความผิด ซึ่งแต่ละวันมีประชาชนผู้สุจริตถูกหลอกลวงจนวนมากและมีมูลค่าความเสียหายสูงมาก และการหลอกลวงดังกล่าวซึ่งเป็นการกระทความผิดได้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างและเป็นอันตรายร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะต้องมีมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ

        นี่คือ เหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องตรา พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ออกมาใช้บังคับเป็นการเร่งด่วน แทนที่จะต้องออกตราเป็นพระราชบัญญัติ โดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภาซึ่งมีขั้นตอนและระยเวลายาวนานมาก   ดังคำกล่าวที่ว่า “กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้แล้ว”

       มาดูกันว่า พระราชกำหนดฯ ฉบับนี้ จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นอย่างไร

        ก่อนอื่นต้องเริ่มจาก บทนิยามศัพท์ : มาตรา 3 ในพระราชกหนดนี้

        อาชญากรรมทางเทคโนโลยี” หมายความว่า การกระท หรือ พยายามกระทความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกระทความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อฉ้อโกง กรรโชก หรือรีดเอาทรัพย์บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือโดยประการที่น่าจะทให้บุคคลอื่นเสียหาย หรือกระทความผิดฐานฉ้อโกง กรรโชก หรือรีดเอาทรัพย์ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ

      “สถาบันการเงิน” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน ของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน

     “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วย ระบบการชระเงิน

หน้าที่ของ สถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ให้บริการเครื่อข่ายโทรศัพท์        ผู้ให้บริการโทรคมนาคมอื่น: ในกรณีที่มี เหตุอันควรสงสัยว่า “มี” หรือ “อาจมี”  การกระทำความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี   ( มาตรา 4.)

     (1) ให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจ”  มีหน้าที่

          เปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับ บัญชีและธุรกรรมของลูกค้าที่เกี่ยวข้องในระหว่างสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจ”  นั้นผ่านระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล ที่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม,นักงานตรวจแห่งชาติ, กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นชอบร่วมกัน ( มาตรา 4 วรรคแรก )

(2) ให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์, ผู้ให้บริการโทรคมนาคมอื่นหรือ ผู้ให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้อง  มีหน้าที่

              เปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลการให้บริการที่เกี่ยวข้องระหว่างกันผ่านระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ กระทรวงดิจิทัลและสนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เห็นชอบร่วมกัน ( มาตรา 4 วรรคสอง )

(3) และเมื่อมีการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลแล้ว ให้ผู้เปิดเผยหรือ           ผู้แลกเปลี่ยนข้อมูล แจ้งให้ นักงานตรวจแห่งชาติ (สตช.) หรือกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)(แล้วแต่กรณี)และนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง)ทราบโดยทันที
(4) เมื่อ สตช. , ดีเอสไอ และ ปปง.  ได้รับแจ้งแล้ว ให้ สตช.,ดีเอสไอ หรือ   ปปง. (แล้วแต่กรณี) มีอนาจ ข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์เพื่อป้องกัน ปราบปราม หรือระงับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้ ( มาตรา 4 วรรคสาม )

หาก สตช., ดีเอสไอ หรือ  ปปง. มีความจำเป็นต้องทราบ “ข้อมูลการลงทะเบียน” ผู้ใช้งานหรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” จะต้องทำอย่างไร :

              มาตรา 5   ให้ นักงานตรวจแห่งชาติ, กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือสนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

              สั่งให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์, ผู้ให้บริการโทรคมนาคมอื่น หรือผู้ให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกระทดังกล่าว( ผู้รับคำสั่ง) เปิดเผยข้อมูล ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จเป็น และ มีหน้าที่ส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่ผู้สั่งภายในระยะเวลาที่ผู้สั่งกหนด

         จะระงับหรือยับยั้งการทำธุรกรรมได้อย่างไร :

          กรณีที่หนึ่ง : กรณี สถาบันการเงิน หรือ ผู้ประกอบธุรกิจ เป็นผู้แจ้ง

             มาตรา 6 กรณีที่ สถาบันการเงิน หรือ ผู้ประกอบธุรกิจพบเหตุอันควรสงสัยเอง หรือได้รับข้อมูลจาก ระบบ หรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล ตามมาตรา 4 (ข้างต้น)ว่า

          บัญชีเงินฝาก หรือ บัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ใด ถูกใช้หรือ อาจถูกใช้ ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือการกระทความผิดมูลฐาน หรือ ความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

  “สถาบันการเงิน” หรือ “ผู้ประกอบธุรกิจ มีอำนาจ / หน้าที่ :

  (1.) ระงับการทำธุกรรมชั่วคราว : ( ยับยั้งได้ไม่เกิน 7 วัน)

     1.1 ให้ สถาบันการเงิน หรือ ผู้ประกอบธุรกิจ มีหน้าที่ ระงับการทธุรกรรม และ    

     1.2 แจ้งให้สถาบันการเงิน หรือ ผู้ประกอบธุรกิจที่รับโอนถัดไปทุกทอดทราบ พร้อมทั้ง ข้อมูลเข้าสู่ระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล (ตามมาตรา 4) เพื่อให้ระงับการทธุรกรรมดังกล่าวไว้ทันทีเป็นการชั่วคราว  ไม่เกินเจ็ดวัน นับแต่วันที่พบเหตุอันควรสงสัยหรือได้รับแจ้ง (แล้วแต่กรณี)

       1.3 ทั้งนี้ การสั่งระงับการทำธุรกรรมชั่วคราว (ไม่เกิน 7 วัน)  ดังกล่าว ก็เพื่อ ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงและ แจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีอนาจดเนินคดีอาญา (เช่น เจ้าพนักงานตำรวจ) หรือเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(เลขา ปปง) เนินการตรวจสอบ ( มาตรา 6 วรรหนึ่ง )

 (2) สั่งระงับการทำธุรกรรมทันที :

ในกรณีที่ สถาบันการเงิน หรือ ผู้ประกอบธุรกิจได้รับแจ้งเหตุ จากเจ้าพนักงานผู้มีอนาจดเนินคดีอาญา (เจ้าพนักงานตำรวจ) หรือ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ( เลขาธิการ ปปง.)   ให้สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ ระงับการทธุรกรรม พร้อมทั้ง ข้อมูลเข้าสู่ระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมู(ตามมาตรา ๔) ทั้งนี้ เพื่อให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจ  ผู้รับโอนทุกทอด ทราบและ ระงับการทธุรกรรมดังกล่าวไว้ทันที แล้วแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ (มาตรา 6 วรรคสอง)

            (3) หาก เจ้าพนักงานผู้มีอนาจดเนินคดีอาญาหรือ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่า

              3.1  มี พยานหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า บัญชีเงินฝาก หรือ บัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์นั้น ถูกใช้ในการกระทความผิดก็ให้ดเนินการตามกฎหมาย ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการระงับ การทธุรกรรม หรือ แจ้งสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจ (มาตรา 6 วรรคสาม)

              3.2 แต่หาก ไม่ปรากฏว่า มีพยานหลักฐานที่เชื่อได้ว่า บัญชีเงินฝากหรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้ถูกใช้ในการกระทความผิด ก็ให้แจ้งผลการตรวจสอบให้ สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจ ทราบ เพื่อยกเลิกการระงับการทธุรกรรมต่อไป ( มาตรา 6 วรรคสาม)

             3.3 หาก พ้นกหนดเวลา (ตามมาตรา 6 วรรคสาม) แล้ว หรือ พ้น 7 วันนับแต่วันรับแจ้งการระงับ) แล้ว  แต่เจ้าพนักงานผู้มีอนาจดเนินคดีอาญา หรือเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ยังคงไม่ได้แจ้งผลการดเนินการตามกฎหมาย ก็ให้สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจ ยกเลิกการระงับการทธุรกรรมนั้น

           กรณีที่สอง :   กรณี “ผู้เสียหาย” เป็นผู้แจ้งเอง (ผู้เสียหายสามารถแจ้งให้ สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ระงับการทำธุรกรรมไว้ชั่วคราวว้ก่อนแล้วจึงค่อยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนได้  )

         มาตรา 7 ผู้เสียหาย ซึ่งเป็น “ผู้ถือบัญชีเงินฝาก” หรือ “บัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์”  สามารถแจ้งให้ สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจทราบว่า ได้มีการทธุรกรรมโดย บัญชีเงินฝาก หรือ บัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวและเข้าข่ายเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  เพื่อให้ สถาบันการเงิน หรือ ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว

                  (1) ระงับการทธุรกรรมนั้นไว้ชั่วคราว ( ทันที) แม้ผู้เสียหายจะยังไม่ได้ไปแจ้งความร้องทุกข์  พร้อมทั้งนข้อมูลเข้าสู่ระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล (ตามมาตรา 4)  ได้

                   (2) เมื่อ “สถาบันการเงิน” หรือ “ผู้ประกอบธุรกิจ” ได้ระงับการทำธุรกรรมชั่วคราวแล้ว ก็ให้แจ้ง สถาบันการเงินและ ผู้ประกอบธุรกิจผู้รับโอนทุกทอดทราบและ แจ้งให้ผู้เสียหายไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนภายใน เจ็ดสิบสองชั่วโมง

(3)  เมื่อผู้เสียหายได้ไป การร้องทุกข์แล้ว ให้พนักงานสอบสวนแจ้ง ให้          “สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับการทธุรกรรมนั้นไว้ทราบ (ว่ามีการร้องทุกข์แล้ว)และให้พนักงานสอบสวนพิจารณา ำเนินการ เกี่ยวกับบัญชีเงินฝากและบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งความร้องทุกข์

(4) หากภายใน 7 วัน นับแต่วันรับแจ้งความร้องทุกข์แล้ว พนักงานสอบสวนยัง ไม่ได้มีคสั่งให้ สถาบันการเงินหรือ ผู้ประกอบธุรกิจ ระงับการทธุรกรรมไว้อีกต่อไป ก็ให้สถาบันการเงิน หรือ ผู้ประกอบธุรกิจ ยกเลิกการระงับการทธุรกรรมนั้น

วิธีการแจ้งข้อมูล หรือหลักฐาน : มาตรา 8

1. แจ้งทางโทรศัพท์หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”  ก็ได้

ถ้าแจ้งทางโทรศัพท์ก็ให้ ผู้ได้รับแจ้งบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ลงลายมือชื่อผู้รับแจ้ง และวันเวลาที่ได้รับไว้เป็นหลักฐาน พร้อมทั้งส่ง เนาให้ผู้แจ้งเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย

             วิธีร้องทุกข์/ สถานที่ร้องทุกข์ :

         1. สามารถร้องทุกข์ต่อ พนักงานสอบสวน ณ สถานีตรวจ แห่งใดในราชอาณาจักร หรือต่อกองบัญชาการตรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  ก็ได้

         2. ร้องทุกข์โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้ถือว่า เป็นการร้องทุกข์โดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

         3. ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนที่ใดก็ได้

          ในการสอบสวน หรือ เนินการเกี่ยวกับการกระทความผิดดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนที่ รับคร้องทุกข์ ไม่ว่าประจอยู่ที่ใดหรือพนักงานสอบสวนที่ผู้บัญชาการตรวจแห่งชาติกหนด เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ มีอนาจสอบสวนและดเนินการเกี่ยวกับการกระทความผิดดังกล่าวได้ ไม่ว่าความผิดนั้นจะเกิดขึ้น ณ ที่ใดในราชอาณาจักร  (มาตรา 8)

           ข้อสังเกต  เป็นบทยกเว้นในเรื่องอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตามมาตรา 18 , 19 ซึ่งกำหนดให้ พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้ เกิด หรืออ้างว่าเกิด หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจ หรือ ผู้ต้องหามี ที่อยู่หรือถูกจับ ภายในเขตอำนาจของตน

        การกำหนดความผิดและบทลงโทษตามพระราชกำหนดฯฉบับนี้ :

(1) บัญชีม้า :   รับจ้างเปิดบัญชี / ยอมให้ใช้เลขหมายโทรศัพท์

      มาตรา  9ผู้ใดเปิดหรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของตน โดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตน หรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้หรือยืมใช้เลขหมายโทรศัพท์หรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตน ทั้งนี้ โดยประการที่รู้หรือควรรู้ว่าจะนไปใช้ในการกระทความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ความผิดทางอาญาอื่นใด

       ต้องระวางโทษ คุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจทั้งปรับ

(2) เป็นธุระจัดหา รับโฆษณา ไขข่าว : บัญชีเงินฝาก/บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือ บัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์

มาตรา 10-   ผู้ใด เป็นธุระจัดหา โฆษณา หรือไขข่าวโดยประการใด ๆ เพื่อให้มีการซื้อ ขาย ให้เช่า หรือให้ยืม บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในการกระทความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือความผิดทางอาญาอื่นใด

      ต้องระวางโทษ คุกตั้งแต่สองปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท หรือทั้งจทั้งปรับ

(3) เป็นธุระจัดหา โฆษณา หรือไขข่าว : เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (ซิมโทรศัพท์)

       มาตรา 11. – ผู้ใด เป็นธุระจัดหา โฆษณา หรือไขข่าวโดยประการใด ๆ เพื่อให้มีการซื้อ หรือขาย เลขหมายโทรศัพท์ (ซิมโทรศัพท์)  หรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งลงทะเบียนผู้ใช้บริการในนามของบุคคลหนึ่งบุคคลใดแล้ว แต่ไม่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้

      ต้องระวางโทษ คุกตั้งแต่สองปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท หรือทั้งจทั้งปรับ

บทยกเว้นกฎหมาย PDPA :

       มาตรา 12–   การเปิดเผย/ การแลกเปลี่ยน/ การเข้าถึง/ ตลอดจน การเก็บ / การรวบรวม หรือ การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชกหนดนี้ ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

     แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ได้รับ หรือ “ผู้ครอบครองข้อมูล จะเปิดเผยให้บุคคลอื่นซึ่งไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทราบ มิได้

      หมายความว่า  สถาบันการเงิน / ผู้ประกอบธุรกิจ / ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์       ผู้ให้บริการโทรคมนาคมอื่น ได้รับการยกเว้น ให้สามารถจัดเก็บข้อมูล นำไปใช้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ หรือไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นเจ้าของข้อมูลก่อนได้ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นการดำเนินการภายใต้เงื่อนไขแห่งพระราชกำหนดฯ ฉบับนี้เท่านั้น

      หมายเหตุ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562หรือ PDPA คือกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ ป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคนรวมถึง การจัดเก็บข้อมูลและนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ และไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล จะกระทำไม่ได้

   อ่านมาถึงบรรทัดนี้ ผู้เขียนหวังว่า ท่านคงได้รับความรู้เกี่ยวกับพระรราชกำหนดฯ ฉบับนี้บ้าง ไม่มากก็น้อย อย่างน้อยก็รู้ว่า เมื่อเกิดความเสียหายจากการกระทำอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สิ่งที่ต้องรีบที่สุดคือ ต้องแจ้งอายัดบัญชี หรือระงับยับยั้งการทำธุรกรรมทางบัญชีให้เร็วที่สุด โดยพระราชกำหนดฯ ฉบับนี้ได้ให้สิทธิแก่ ผู้เสียหายที่จะไปแจ้งอายัด หรือ “แจ้งให้ธนนาคาร หรือสถาบันทางการเงิน ระงับยับยั้งการทำธุรกรรมทางบัญชีกับทางธนาคารหรือสถาบันทางการเงินได้ด้วยตนเองไว้ก่อน (ก่อนที่จะไปแจ้งความร้องทุกข์ ซึ่งในอดีต ธนาคาร หรือสถาบันการเงินมักจะปฏิเสธไม่รับแจ้งอายัด หรือระงับการทำธุรกรรม  โดยขอให้ผู้เสียหายไปแจ้งความมาก่อน )  แต่ก็เป็นการอายัด หรือระงับยับยั้งการทำธุรกรรมทางการเงินได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น  และเมื่อแจ้งอายัด หรือระงับยับยั้งการทำธุรกรรมทางบัญชีแล้ว  ต้องรีบไปแจ้งความร้องทุกข์ ต่อพนักงานสอบสวน ภายใน 72 ชั่วโมง  และเมื่อมีการแจ้งความร้องทุกข์แล้ว ก็จะก่อให้เกิดสิทธิแก่พนักงานสอบสวนที่จะสามารถไปดำเนินการเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากและบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ต่อไป

         นอกจากนี้ยังทำให้ทราบว่า วิธีการแจ้งอายัด หรือระงับยับยั้งการทำธุรกรรมทางบัญชีไว้ก่อน สามารถแจ้งทาง โทรศัพท์ หรือ ทางวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ก็ได้  และผู้เสียหายยังสามารถแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในท้องที่ใดก็ได้ และให้พนักงานสอบสวนในท้องที่รับแจ้งความเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ซึ่งเป็นการยกเว้นหลักตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่ว่า ผู้เสียหายจะต้องแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในท้องที่มี่ความผิดเกิด เชื่อว่าเกิด หรืออ้างว่าเกิด หรือในท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับกุม และยังทราบต่อไปว่า หากไปรับจ้างเปิดบัญชีเงินฝาก  บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า “ รับจ้างเปิดบัญชีม้าแล้วมีผู้ไปกระทำผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยีโดยใช้  บัญชีเงินฝาก  บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ผู้เปิดบัญชี ฯ (บัญชีม้า) จะต้องรับผิดและมีโทษจำคุก และปรับ  ( ซึ่งแต่เดิม ไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดโดยตรง จึงต้องใช้ความผิดฐาน “เป็นผู้สนับสนุน” หรือ “ตัวการร่วม”  (หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้รับจ้างเปิดบัญชี ร่วมรู้เห็นหรือ เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดฐานนั้น) ซึ่งรวมถึง การรับจ้างเปิด ซิมโทรศัพท์เคลื่อนที่” ด้วย

นายวรเทพ  สกุลพิชัยรัตน์

อัยการศาลสูงจังหวัดสมุทรปราการ

อดีต รองประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน (คนที่สอง) ในคณะกรรมาธิการการกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร