สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย (TTIA) และสมาคมการค้าอาหารสัตว์เลี้ยงไทย (TPFA) โดย ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยและสมาคมการค้าอาหารสัตว์เลี้ยงไทย ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยและสมาคมการค้าอาหารสัตว์เลี้ยงไทย ในนามรองประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้เข้าร่วมงานสัมมนา Bio-Circular-Green (BCG) Economy: Pathways to Enhanced Partnerships between Thailand and Latin America and the Caribbean ณ โรงแรม Royal Orchid Sheraton จัดโดย กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ ดร.ชนินทร์ ให้ข้อมูลหลักการ BCG ของสมาคมฯ และให้ความเห็นเพิ่มเติมดังนี้

1. นโยบายและมาตรการส่งเสริมการค้าการลงทุนด้าน BCG ของประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา มีดังนี้
– BCG ในภูมิภาคลาตินอเมริกาจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงการผลิตและวิถีชีวิตไปสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม, เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและน้ำ, การเปลี่ยนแปลงการผลิตและการบริโภค, ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นต้น
– การใช้นโยบาย BCG เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานและทรัพยากร หลีกเลี่ยงการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและบริการระบบนิเวศ และลดการว่างงาน
– BCG เป็นแนวคิดเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่เน้นการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เป็นแนวทางเศรษฐกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมต่างๆ

2. ในภาพรวมภูมิภาคลาตินอเมริกามีศักยภาพทางเศรษฐกิจมาก เป็นคู่ค้าที่ไทยและอาเซียนให้ความสำคัญ โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา มีประชากรกว่าร้อยละ 8.2 ของโลก และมี GDP กว่าร้อยละ 6 มีศักยภาพรอบด้าน อาทิ ทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ บุคลากรรุ่นใหม่ พลังงานสะอาด การแพทย์ เทคโนโลยี นวัตกรรม ตลอดจนนโยบายและแนวปฏิบัติที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับการพัฒนา เศรษฐกิจ BCG ของไทย

3. ในส่วนกระบวนการ BCG ของปลาทูน่านั้น ในส่วนวัตถุดิบทูน่าได้ใช้ทุกส่วนของปลาอย่างมีคุณค่าสูงสุด เป็นการลดขยะได้มาก โดยส่วนที่เหลือจากอาหารมนุษย์ก็นำสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น น้ำนึ่งปลา ในอุตสาหกรรมทูน่านำมาสกัดใช้เพิ่มความน่ากินของอาหาร ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง ส่วนที่เป็นกระดูก ก้าง เป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
– อาหารสัตว์เลี้ยง อุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง ได้นำ by product ที่เป็นสินค้าปศุสัตว์ เช่น tuna red meat เครื่องใน โครงไก่ มาเพิ่มมูลค่า เป็นวัตถุดิบผสมในอาหารสัตว์เลี้ยง การใช้บรรจุภัณฑ์จาก bioplastic ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงเติบโตขึ้นประมาณ 20% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์โควิด19 ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป มีการอยู่บ้านเลี้ยงสัตว์เสมือนครอบครัวกันมากขึ้น จึงคาดการณ์ว่าในปี 2567 สินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงจะส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก ด้วยโมเดล BCG เนื่องจากประเทศไทยมี supply chain สินค้าปศุสัตว์เพียงพอต่อการผลิตเพื่อส่งออกและเริ่มมีบริษัทต่างชาติเข้ามาตั้งฐานผลิตในไทยอีกด้วย
– สิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าของไทย และส่งเสริมการค้าการลงทุนได้คือ การพัฒนาเทคโนโลยี R&D, การเร่งเจรจาจัดทำ FTA Thai-EU โดยการเจรจาฯ หัวข้อหลักจะมิใช่การลดภาษีเพียงอย่างเดียว จะเจรจากันถึงแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านต่างๆ รวมถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมด้วย– ไทยและลาตินอเมริกา สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับสินค้า และสาขาธุรกิจของทั้งสองประเทศ เพื่อสนับสนุนนโยบายแสวงหาตลาดที่มีศักยภาพ โดยประเทศไทยมีจุดแข็งในด้านสินค้าเกษตรและอาหารที่ดีอยู่แล้ว อีกทั้ง สามารถใช้นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) เป็นแนวทางในการฟื้นฟูเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้
– ผลิตภัณฑ์ หนึ่งในสามของไทยที่อยู่อันดับต้นๆของโลกคือ ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล เช่น ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็ยึดตามแนวทางของ BCG ทั้งสิ้น โดยผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของไทยที่ไปสู่ตลาดโลกนั้น ประมาณ 1.5 ล้านตันต่อปี
-ทั้งนี้ ส่วนมากเกือบทั้งหมดของอาหารทะเล ที่ไทยส่งออกเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศทั้งสิ้น คือประมาณ 95% เพราะเรือประมงของไทยมีขนาดกลางถึงเล็กเท่านั้น โดยปลาแซลมอนนั้นมาจาก ชิลี และเปรู สมัยแรกในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารทะเลของไทย จะเป็นการผลิตเป็นอาหารกระป๋องเสียส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีการเพิ่มมูลค่าการผลิตภัณฑ์บ้าง โดยเป็นปลาทูน่าในซอสมายองเนส ในขั้นต้นนั้น พบว่าผลประกอบการที่ได้มาไม่สูงมากนัก
– ขั้นต่อมาที่นำเอาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลมาแปรรูปเพิ่มเติมคือ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยง โดยนำเอาผลิตภัณฑ์ ที่เป็นผลพลอยได้จาก ปลาทูน่าและปลาอื่นๆ ที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์เป็นอาหารของคนได้แล้ว ขั้นต่อมาก็เป็น ส่วนที่เหลือของอาหารทะเลที่เป็นน้ำมัน จนสามารถพูดได้ว่า ในปลาทะเลทุกส่วน เราสามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ได้ถึง 99%
– จนในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์จาก ปลาทูน่า แซลมอน ซาร์ดีน สามารถทำเงินได้สูงถึง 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ จนถือได้ว่าไทยเป็นประเทศที่ผลิตอาหารทะเลอย่างยั่งยืนใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งเป็นไปตามแนวทางของ สหประชาชาติ ในส่วนของการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อความยั่งยืน และสำหรับประเทศแถบละตินอเมริกา ก็มีความเชื่อมั่นว่า จะได้มีแนวทางความร่วมมือในพันธกิจร่วมกัน เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อความยั่งยืน ร่วมกันในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น ไทยกับชิลีก็มีพันธกิจเพื่อความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหารทะเลร่วมกัน มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ซึ่งเชื่อว่าประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาอื่นๆ เช่น บราซิล อาร์เจนติน่าจะได้เข้ามาร่วมกับไทยด้วย
– สำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงไทย นั้น เป็นอุตสาหกรรมที่โตอย่างต่อเนื่อง ไทยก้าวไปสู่อันดับสอง ของโลกในอุตสาหกรรมด้านนี้ โดยได้เดินหน้าพันธกิจด้านนี้มากว่า 10 ปี และมีผลประกอบการมากถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ อาหารสัตว์เลี้ยงถือว่าเป็นการผนึกพลังของ อุตสาหกรรมในทะเล ในปัจจุบันถือว่าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงเป็น Product Champion ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ด้วยอัตราเติบโต 20% และเป็นอุตสาหกรรมที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ส่วนเหลือจากทั้ง อาหารทะเล สัตว์ปีก และปศุสัตว์ มีหนทางเติบโตอย่างยั่งยืน
– เราต้องให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยง เพราะในเวลาที่ ประชากรโลกมีถึง 7 พันล้านคน และจะเติบโตไปเป็น 8 พันล้าน ในอีกไมช้านี้ โดยจำนวนประชากรของสัตว์เลี้ยงซึ่งคิดเป็น 25% ของคน จะทำให้มีประชากรของสัตว์เลี้ยงมากถึง 2 พันล้านตัวทีเดียว ไม่สามารถมองข้ามได้ นอกจากนั้น คงต้องขอบคุณรัฐบาล ที่ให้การส่งเสริมและ จูงใจกับอุตสาหกรรมด้านนี้ ในการก่อตั้งโรงงาน โดยงบลงทุนในพันธกิจด้านนี้มีมากถึง 1 พันล้านเหรียญในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา มีรายใหญ่จากต่างชาติ เช่น เนสท์เลย์ได้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง

ดังนั้น สิ่งที่พึงกระทำอย่างยิ่งคือ ต้องเร่งกระตุ้นให้ความสำคัญกับต้นแบบ BCG ที่ให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศวิทยา เพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมทั้งหลาย ไม่ใช่แต่เพียงอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยง
อนึ่ง ในงาน สัมมนา Bio-Circular-Green (BCG) Economy: Pathways to Enhanced Partnerships between Thailand and Latin America and the Caribbean ทาง TTIA/TPFA ได้ออกบูธ เพื่อประชาสัมพันธ์โบรชัวร์ สินค้าของสมาชิกฯ ให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับทราบ รวมถึงมีสมาชิก กลุ่ม SeaValue Group ร่วมออกบูธภายในงานอีกด้วย
โดยมีบริษัทที่สนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกวิสามัญได้แก่
1. MARSUKO CONSULTING & TRADING CO.,LTD. บริษัทนำเข้า-ส่งออก petfood
2. MITR PHOL SUGAR CORP, LTD. บริษัทผลิต pre-biotic
3. บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จํากัด SCGC บริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์ bioplastic
ภาครัฐและบริษัททั่วไปที่เข้ามาเยี่ยมชมบูธสมาคมฯ
1. คุณอุรีรัชต์ เจริญโต อธิบดี กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
2. BECIS Berkeley Energy Commercial Industrial Solutions บริษัทพลังงาน
3. Circularity Co., Ltd. บริษัทให้เช่าเฟอร์นิเจอร์
4. Royal Orchid Sheraton Hotel & Towers โรงแรมจัดงานสัมมนา