รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน กรุงเทพฯ-นครราชสีมา คาดช้ากว่ากำหนดส่อแววล่ม
งานโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 14 สัญญา ซึ่งคาดว่ามีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จทุกสัญญาในปี 2569 นั้น ส่อแววช้ากว่ากำหนด เนื่องจากมีรายงานว่าความคืบหน้าของโครงการก่อสร้าง ทั้ง14 สัญญา ดำเนินการไม่เป็นไปตามเป้าหมายซึ่งช้ากว่าแผนที่การรถไฟแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ซึ่งมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่นสถานการณ์นานาชาติความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครน ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจการค้าโลก รวมถึงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) นอกจากจะเป็นผลโดยตรงทำให้การก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน จะต้องหยุดชะงักแล้ว ยังเป็นปัจจัยสำคัญส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้ราคาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นมีการปรับตัวสูงขึ้นมาก ซึ่งคำนวณจากผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างของทั้ง14 สัญญา คาดว่ามีการขาดทุนในแต่สัญญาก่อสร้างหลายพันล้าน
ปัจจุบันมีรายงานว่าผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างของงานโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ของทั้ง14สัญญา มีการรวมตัวกัน เพื่อชี้แจงต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยถึงผลกระทบดังกล่าวซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยเพื่อขอเครมค่าใช้จ่าย รวมทั้งขอเปลี่ยนแปลงแบบ และขอเพิ่มค่าเคงานก่อสร้าง
ซึ่งจากแหล่งข้อมูลการรถไฟแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ถือเป็นภารกิจสำคัญโดยการรถไฟแห่งประเทศไทยกำลังพิจารณาตามข้อเรียกร้องดังกล่าวของผู้ประกอบการ คาดการว่ามีแนวโน้มไปในทางที่ดี ซึ่งอีกไม่นานการรถไฟแห่งประเทศไทยอาจมีนโยบายเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการทั้ง14สัญญา เพื่อให้งานโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 14 สัญญาดำเนินการโดยสำเร็จ
แหล่งที่มา : Perfect Nine Media
โดย : ประกายแก้ว พิมพามาก