มธ.- สสส. ปลื้ม แพลตฟอร์มโซเชียลเทเลแคร์ นำร่อง 12 พื้นที่แซนด์บ็อกซ์ ช่วยยกระดับการทำงานของนักสังคมสงเคราะห์ยุคใหม่ ประเมิน-ดูแล-ติดตาม ผู้ป่วยได้มาตรฐาน ทำงานร่วมกับสหวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงการสร้างนักสังคมสงเคราะห์ท้องถิ่น

ศาสตราจารย์ระพีพรรณ คำหอม หัวหน้าโครงการ พัฒนาและเสริมสมรรถนะกลไกและเครือข่ายการดูแลทางสังคมของสหวิชาชีพเพื่อสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ  ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และภาคีเครือข่ายร่วมดำเนินการตามที่ได้รับการสนับสนุนโครงการจากกองทุน สสส. เปิดเผยว่าโครงการนี้นับเป็นครั้งแรกที่รวบรวมเครื่องมือการทำงานของทางสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ทั้งหมด 23 เครื่องมือ ประเมินผู้ป่วย รวมไปถึงจัดทำแผนดูแลด้านสุขภาวะ สามารถใช้ร่วมกันกับวิชาชีพอื่นๆ ได้ เพื่อให้เกิดมาตรฐาน และความน่าเชื่อถือในการทำงาน สามารถนำไปออกแบบบริการสวัสดิการสังคม การจัดการรายกรณี  ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ และดูแลได้ถึงระดับปฐมภูมิ ซึ่งจากการดำเนินโครงการ 12 แซนด์บ็อกซ์ ทำให้นักสังคมสงเคราะห์พัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลในการทำงาน ลดกระดาษ ลดเวลาการทำงาน และหากมีการเชื่อมต่อได้อย่างสมบูรณ์ การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามคาดหวังว่าโครงการในปีที่2นั้น จะพัฒนาระบบ Platform Social Telecare ให้เข้าไปสู่การทำงานร่วมกัน ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.)

ศาสตราจารย์ระพีพรรณ เปิดเผยว่าโครงการในระยะต่อไปจะพยายามเชื่อมโยงกับระบบนักสังคมสงเคราะห์ท้องถิ่น หรือนักสังคมสงเคราะห์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อให้เกิดการทำงานแบบไร้รอยต่อ นายวัชระ อมศิริ คณะ วิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า เป็นครั้งแรกที่ได้มีการรวบรวมเครื่องมือใน Platform Social Telecare ได้มากขนาดนี้ เป็นเรื่องใหม่ของนักสังคมสงเคราะห์ จึงทำให้ทุกคนตื่นเต้นและได้ใช้ประโยชน์ จากการเสริมทักษะสมัยใหม่ แม้อาจจะต้องปรับ วิธีการทำงานจากเดิม ที่คุ้นเคยกับการบันทึกด้วยกระดาษ  แต่ เครื่องมือใน Platform Social Telecare จะช่วยประมวล และ แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน   ซึ่งการออกแบบ จะต้องมีความยืดหยุ่น และแม่นยำ มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานสำหรับนักสังคมสงเคราะห์ต้องใช้เวลาและพัฒนาอย่างต่อเนื่องนางเยาวเรศ คำมะนาด นายกสมาคมนักสังคมสงเคราะห์การแพทย์ไทย กล่าวว่า  นักสังคมสงเคราะห์ในระบบบริการสุขภาพ  จำเป็นต้องปรับตัว ให้ทันกับสถานการณ์ในยุคnext normal ที่ต้องเรียนรู้เรื่องของดิจิทัล ทั้งเรื่องของ Platform Social Telecare หรือ Telehealth ซึ่งสามารถเรียนรู้ระหว่างการทำงานได้ ด้วยระบบสนับสนุนเช่นที่โครงการฯดำเนินงานอยู่ในขณะนี้ และจะขยายผลต่อไปอย่างแน่นอน จึงอยากเชิญชวนนักสังคมสงเคราะห์ทั่วประเทศเข้ามาร่วมเรียนรู้เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง และระบบบริการนางสโรทร ม่วงเกลี้ยง นักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพ เชื่อว่าหากสามารถพัฒนา Platform Social Telecare จะเป็นการพัฒนาการทำงานกับมนุษย์ด้วยการใช้ ดิจิทัลเป็นเครื่องมือ  จะสามารถทำให้นักสังคมสงเคราะห์ทำงานได้เร็วขึ้น จัดลำดับความจำเป็นเร่งด่วนได้แม่นยำมากขึ้น ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น  และ”ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ดร.ขนิษฐา บูรณพันศักดิ์ หัวหน้างานสังคมสงเคราะห์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่าการทำงานของนักสังคมสงเคราะห์มีความท้าทายเพราะต้องทำงานกับหลากหลายกลุ่ม อาทิ คนพิการ ผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบางและคนจนเมือง ซึ่งมีความยากลำบาก จึงต้องบูรณาการองค์ความรู้หลากหลายศาสตร์ ทั้งความรู้ทางสังคม ความรู้เรื่องสิทธิ ความรู้ทางกฏหมาย ความรู้เรื่องเครื่องมือทางสังคมสงเคราะห์ และองค์ความรู้ทางดิจิทัลต่างๆมาร่วมขับเคลื่อน ขณะที่วิชาชีพอื่นๆก็สามารถนำองค์ความรู้เหล่านี้ไปปรับใช้ได้ ซึ่งสามารถมั่นใจได้ว่าเครื่องมือ Platform Social Telecare  นำไปสู่การประเมินที่ได้มาตรฐานและวางแผนการช่วยเหลือและบำบัดต่างๆได้ ซึ่งในโครงการระยะต่อไปจะทำให้เห็นภาพทำเนียบของทรัพยากรต่างๆในแต่ละพื้นที่ด้วย