มารู้จัก พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565  ประเทศไทยได้มีการประกาศราชกิจจานุเบกษา พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565” (ต่อไปขอเรียกว่า พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาน ฯ )  ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ที่กำลังจะมาถึงนี้  นับเป็นกฎหมายที่ประชาชนรอคอยมานาน นับตั้งแต่คดี ทนายสมชาย นีละไพจิตร , คดีนายทะนง โพธิ์อ่าน , นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งจนถึงปัจจุบันบุคคลดังกล่าวได้สูญหายไปโดยไม่ทราบชะตากรรม จะเป็นตายร้ายดี หรือไม่อย่างไร ไม่มีใครรู้ หรือคดีผู้กำกับคนดังกับพวกร่วมกันใช้ถุงพลาสติกดำคลุมศรีษะผู้ต้องหาคดียาเสพติดจนขาดอากาศหายใจและถึงแก่ความตายในที่สุด เป็นต้น จนในที่สุดประเทศไทยก็สามารถออกกฎหมายที่มีความสำคัญ และสอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีไว้ 2 ฉบับคือ    

 1.อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ และ

 2. อนุสัญญาการต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย้ำยีศักดิ์ศรี

 โดยมีสาระสำคัญ คือ มุ่งป้องกัน และ มุ่งปราบปราม เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่ให้กระทำผิดกฎหมายเสียเอง ขณะเดียวกันก็มุ่งคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นร่างกฎหมายที่ให้ความเป็นธรรม ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โดยมีเจตนารมณ์ของกฎหมาย คือ

การทรมานบุคคลหรือการทําให้บุคคลสูญหาย โดยเฉพาะผูกระทําเป็เจ้าหน้าที่ของรัฐถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เพื่อยกระดับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน มาตรการการป้องกันและปราบปราม การเยียวยาบุคคลผู้ถูกกระทํา ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ จึงตรา พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาน

มาดูว่า ความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาน ฯ มีอะไรบ้าง

(1.) ความผิดฐาน  การกระทำทรมาน( มาตรา 5 ประกอบ มาตรา 35)

      1 องค์ประกอบความผิด ( ผู้กระทำ/ การกระทำ / วัตถุประสงค์)

              1.1 ผู้กระทำ :  เป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐ  

     1.2 การกระทำ :  กระทําด้วยประการใดให้ผู้อื่นเกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างร้ายแรงแก่ร่างกายหรือจิตใจ

              1.3 วัตถุประสงค์ : เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

                  (1) ให้ได้มาซึ่งข้อมูล หรือคํารับสารภาพ จากผู้ถูกกระทําหรือบุคคลที่สาม

                  (2) ลงโทษผู้ถูกกระทําเพราะเหตุอันเกิดจากการกระทํา หรือสงสัยว่ากระทําของผู้นั้นหรือบุคคลที่สาม

               (3) ข่มขู่ หรือขู่เข็ญ ผู้ถูกกระทําหรือบุคคลที่สาม

                (4) เลือกปฏิบัติไม่ว่ารูปแบบใดหากครบองค์ประกอบความผิดดังกล่าว ต้องระวางโทษ จําคุกตั้งแต่ 5 – 15 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 – 300,000 บาท

ถ้าเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำได้ รับอันตรายสาหัส หรือ ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องได้รับโทษหนักขึ้น (ตามลำดับ)

เพิ่มโทษอีก “กึ่งหนึ่ง”  ถ้ากระทำกับบุคคคล ดังต่อไปนี้  (บุคคลอายุไม่เกิน 18 ปี , หญิงมีครรภ์, ผู้พิการทางร่างกายหรือจิตใจ ,  ผู้ที่ยังพึ่งตนเองไม่ได้เพราะอายุน้อยหรือเพราะความเจ็บป่วย)

(2.) ความผิดฐานกระทําการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ​ ( ตาม มาตรา 6 ประกอบมาตรา 36 )

1) องค์ประกอบความผิด ( ผู้กระทำ / การกระทำ / วัตถุแห่งการกระทำ )

       1.1) ผู้กระทำ : เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ

       1.2) การกระทำ กระทําการ ลงโทษ หรือกระทําด้วยประการใด ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

          แต่ ไม่รวมถึง อันตรายอันเป็น ผลปกติหรือสืบเนื่องจากการลงโทษทั้งปวงที่ชอบด้วยกฎหมาย (เช่นการลงโทษตามกฎหมายราชทัณฑ์ )

         1.3) ผลแห่งการกระทำ  : เป็นเหตุให้ผู้อื่น ถูกลดทอนคุณค่า หรือละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานความเป็นมนุษย์ หรือเกิดความเจ็บปวดหรือความทุกขทรมานแก่ร่างกายหรือจิตใจ ที่มิใช่การกระทําความผิดฐาน กระทำทรมาน ตามมาตรา 5

    หากครบองค์ประกอบความผิดดังกล่าว ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

เพิ่มโทษอีก “กึ่งหนึ่ง”   ถ้ากระทำกับบุคคคลดังต่อไปนี้ (บุคคลอายุไม่เกิน 18 ปี , หญิงมีครรภ์ , ผู้พิการทางร่างกายหรือจิตใจ , ผู้ที่ยังพึ่งตนเองไม่ได้เพราะอายุน้อยหรือเพราะความเจ็บป่วย)

เหตุยกเว้นความผิด : ไม่ต้องรับผิด ถ้า….

    การเกิดอันตรายที่เป็น ผลปกติหรือผลสืบเนื่องจากการลงโทษทั้งปวงที่ชอบด้วยกฎหมาย

( 3.) ความผิดฐาน “กระทําให้บุคคลสูญหาย” (ตาม มาตรา 7ประกอบมาตรา 37)

       1) องค์ประกอบความผิด : ผู้กระทำ / การกระทำ / วัตถุแห่งการกระทำ )

   1.1)   ผู้กระทำ : เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ

   1.2) การกระทำ :  ควบคุมตัว หรือ ลักพาบุคคลใด  หรือ ปฏิเสธว่ามิได้กระทําการดังกล่าว หรือ ปกปิดชะตากรรม หรือสถานที่ปรากฏตัวของบุคคลนั้ ส่งผลให้บุคคลนั้นไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

หากครบองค์ประกอบความผิด  ต้องระวางโทษ จําคุกตั้งแต่ 5 – 15 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 – 300,000 บาท

ถ้าเป็นเหตุให้ ผู้ถูกกระทํา “ ได้รับอันตรายสาหัส หรือเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทําถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น ( ตามลำดับ)

​​ข้อสังเกต ความผิดฐานกระทําให้บุคคลสูญหาย ให้ถือเป็น ความผิดต่อเนื่อง จนกว่ จะทราบชะตากรรม ของบุคคลนั้น

 บทเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่ง  ถ้ากระทำกับบุคคคลดังต่อไปนี้ (บุคคลอายุไม่เกิน 18 ปี ,หญิงมีครรภ์ , ผู้พิการทางร่าางกายหรือจิตใจ , ผู้ที่ยังพึ่งตนเองไม่ได้เพราะอายุน้อยหรือเพราะความเจ็บป่วย)

แค่ “ สมคบกันกระทำผิด” หรือแค่ “ สนับสนุนการกระทำผิด” ฐาน “กระทําทรมาน”/ “กระทําการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”/ “กระทําให้บุคคลสูญหาย” ก็เป็นความผิดแล้ว :

สบคบกัน แต่ยังมิได้กระทําผิดตามที่ได้สมคบ” ต้องระวางโทษ หนึ่งในสาม
สบคบกัน และได้กระทําผิดตามที่สมคบแล้ว ต้องระวางโทษตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 37 หรือ มาตรา 38

แม้กระทำแค่ “สนับสนุนก็ต้องรับผิดเท่า ตัวการ :

สนับสนุนกระทําความผิดฐาน“กระทําทรมาน”“กระทําการที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือ ย่พายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์“กระทําให้บุคคลสูญหาย” ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับ ตัวการผู้กระทําผิด

ผู้บังคับบัญชา อาจต้องรับผิดด้วย ถ้า….ทราบว่า ผู้ใต้บังคับบัญชากระทําหรือจะกระทํา

ความผิดฐานกระทําทรมาน/ กระทําการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่พายีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ /

กระทําให้บุคคลสูญหายแล้วงดเว้น ไม่ดําเนินการที่จำเป็นและเหมาะสมเพื่อระงับป้องกัน หรือ ไม่ดำเนินการหรือส่งเรื่องให้ดําเนินการสอบสวนดําเนินคดีตามกฎหมายมาตรา 36 วรรคสอง มาตรา 40 ต้องระวางโทษ “กึ่งหนึ่ง”

เหตุลดโทษ : ศาลอาจจะลงโทษผู้กระทําผิดหรือผู้สนับสนุน น้อยกว่าที่กฎหมายกําหนด” เพียงใดก็ได้ในกรณีดังต่อไปนี้

               (1.) เข้าขัดขวางการกระทําผิด ทำให้การกระทําผิดไม่บรรลุผล

              (2) กลับใจช่วยเหลือให้คนพบผู้ถูกกระทําให้สูญหาย”

                  ถ้า ช่วยให้คนพบผู้ถูกกระทําให้สูญหาย ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษ และ ผู้ถูกกระทําให้สูญหาย ไม่ได้รับบาดเจ็บสาหัส/ ไม่อยู่ในภาวะใกล้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต

       ( 3) “ให้ข้อมูลที่สําคัญและเป็นประโยชน์แก่คดี” หลักการที่สำคัญ ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาน ฯ เช่น

1. ผู้กระทําผิด หรือ ผู้สนับสนุนการกระทําความผิด  ไม่อาจอ้างเหตุพฤติการณ์พิเศษช่น ภาวะสงคราม ความไม่มั่นคงทางการเมือง สถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะอื่นใด มาเป็นเหตุให้ยกเว้นความผิดที่ได้กระทําการ กระทําทรมาน”/ “กระทําการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ตามมาตรา 5 มาตรา 6 หรือ มาตรา 7
2. ความผิดฐานกระทําทรมานตาม มาตรา 5  และ ความผิดฐานกระทําให้บุคคลสูญหายตาม มาตรา 7 ไม่ถือเป็นความผิดที่มีลักษณะทางการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน และความผิดทางการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา

3. ห้ามขับไล่ หรือ ส่งกลับ บุคคลเป็นผู้ร้ายข้ามแดน หากมีเหตุอันควรเชื่อว่าบุคคลนั้นจะถูกทรมานกระทําการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือถูกกระทําให้สูญหาย

4. ความผิดฐานกระทําให้บุคคลสูญหาย ตาม มาตรา เป็นความผิดต่อเนื่องจนกว่าจะทราบชะตากรรมของผู้ถูกกระทําให้สูญหาย

5. อายุความความผิด ฐานกระทําให้บุคคลสูญหายตาม มาตรา 7 จะเริ่มนับเมื่อทราบชะตากรรมของผู้ถูกกระทําให้สูญหายแล้ว

6 แม้กระทําความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ “นอกราชอาณาจักร” ก็ต้องรับโทษในราชอาณาจักร

7. ใครคือผู้เสียหาย” ในคดีตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมาน

1. บุคคลผู้ซึ่งถือเป็น ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (4)
2. บุคคลดังต่อไปนี้ : (1) บุคคลผู้ถูกกระทําความผิด ,(2) สามี ภริยา (โดยชอบด้วยกฎหมาย) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน (3) สามี ภริยา โดยพฤตินัย (4) ผู้อุปการะผู้ถูกกระทําความผิด (5) ผู้อยู่ในอุปการะผู้ถูกกระทําความผิด (6) ผู้เสียหาย มีอํานาจตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 3 มาตรา 4 มาตรา 5 ในการร้องทุกข์หรือจัดการแทนผู้เสียหาย

8. กำหนดให้การจับกุมและควบคุมตัวต้องมีการ บันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องขณะจับกุมและควบคุม

          8.1 เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ทําการ จับและควบคุมตัวหรือทําการจํากัดเสรีภาพในร่างกายของบุคคล ต้องบันทึกภาพและเสียงอย่าง จนกว่ จะส่งตัวผู้ถูกจับหรือควบคุมให้แก่พนักงานสอบสวน

        ข้อยกเว้ ไม่ต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องขณะจับและควบคุมในกรณีดังต่อไปนี้

(1) มี เหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถกระทําได้” และ

        (2) ได้บันทึกเหตุดังกล่าวเป็นหลักฐานลงในบันทึกการจับกุมหรือบันทึกควบคุมตัว

         8.2 เมื่อ จับกุม และควบคุมตัว แล้วต้องแจ้ให้ พนักงานอัยการ” และฝ่ายปกครอง                        (นายอำเภอ หรือผู้อำนวยการสอบสวนและนิติการ (กรณีกรุงเทพมหานคร) ทราบถึงการจับกุมและควบคุม ทันที”

9.ผู้มีอำนาจสืบสวนสอบสวน”  คดีความผิด ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 :

    9.1. คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจไต่สวนของ “คณะกรรมการ ป.ป.ช”

(1) พนักงานสอบสวน ตาม ป.วิ.อาญา หรือ พนักงานสอบสวนฝ่ายตํารวจ มีอํานาจสอบสวน + รับผิดชอบคดีความผิดตาม มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา (กรณีความผิดเกิดในราชอาณาจักร)

(2) พนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (17) (ก) – (ฐ)

พนักงานฝ่ายปกครองตําแหน่งปลัดอําเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปมีอํานาจสอบสวน + รับผิดชอบ

คดีความผิดตาม มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 และความผิดอื่นที่เกี่ยวพันกัน (กรณีความผิดเกิดในราชอาณาจักร)

(3) พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) มีอํานาจสอบสวน+รับผิดชอบ คดีความผิดตาม มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 และความผิดอื่นที่เกี่ยวพันกัน (กรณีความผิดเกิดในราชอาณาจักรโดยให้ถือเป็นคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ

********  (4) พนักงานอัยการ มีอํานาจรับคำร้องทุกข์ ,อำนาจสอบสวน + รับผิดชอบ คดีความผิดตาม มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา และความผิดอื่นที่เกี่ยวพันกัน (กรณีความผิดเกิดในราชอาณาจักร)

(5) อัยการสูงสุด เป็นผู้มีอํานาจสอบสวนและรับผิดชอบ (ความผิดนอกราชอาณาจักร) ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 20 กรณีความผิดตาม มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 และความผิดอื่นที่เกี่ยวพันกัน ที่เกิดนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้กระทําความผิดจะต้องรับโทษในราชอาณาจักร

​​9.2 คดีตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาน ฯ  ที่อยู่ในอำนาจไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ชผู้มีอํานาจสอบสวน” และ “การสอบสวน”   คือ

พนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อาญา / พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง/ พนักงาน

สอบสวนคดีพิเศษ /พนักงานอัยการ มีอํานาจสอบสวน และเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ

แต่ให้ “พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ ต้องแจ้งการสอบสวน ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทราบ

​​10. ในกรณี พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ คดีความผิดตาม มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา เป็น “พนักงานสอบสวนฝ่ายอื่นที่มิใช่พนักงานอัยการ ให้พนักงานสอบสวน จ้งให้ “ พนักงานอัยการ”  ทราบถึงการสอบสวน ในทันที และให้ นักงานอัยการเข้าตรวจสอบและกํากับการสอบสวน

        11. พนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการ มีหน้าที่ต้องแจ้งสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายทราบในโอกาสแรกที่ทําการสอบสวนความผิดฐานกระทําให้บุคคลสูญหาย”  ตาม มาตรา 7 พนักงานสอบสวนต้องสืบสวนนานแค่ไหน จึงจะยุติการสืบสวนได้ ?

        –ให้พนักงานสอบสวนดําเนินการสืบสวน จนกว่าจะพบบุคคลซึ่งถูกกระทําให้สูญหาย หรือดําเนินการสืบสวนจนกว่าจะปรากฏหลักฐานอันน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นถึงแก่ความตาย และทราบรายละเอียดของการกระทําความผิด และรู้ตัวผู้กระทําผิด

         “ อายุความดำเนินคดี:

(ก) ความผิดฐาน กระทําทรมาน ตาม มาตรา 5 ประกอบมาตรา 35 วรรคหนึ่ง มีอายุความ 15 ปี  แต่ถ้ากระทำกับ บุคคลพิเศษ (อายุไม่เกิน 18 ปี หญิงมีครรภ์ ผู้พิการ ผู้พึ่งตนเองไม่ได้) และ เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ความตายมีกำหนดอายุความ  20 ปี

(ข) ความผิดฐาน กระทําการโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตาม มาตรา 6 ประกอบมาตรา 36 อายุความ 10 ปี

         (ค) ความผิดฐาน กระทําให้บุคคลสูญหาย ตาม มาตรา 7 ประกอบมาตรา 37 อายุความ 15 ปีแต่ถ้ากระทำกับ บุคคลพิเศษ (อายุไม่เกิน 18 ปี, หญิงมีครรภ์ ผู้พิการ ผู้พึ่งตนเองไม่ได้)  และ เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำบาดเจ็บสาหัส หรือถึงแก่ความตาย มีกำหนด อายุความ  20 ปี  ทั้งนี้อายุความ จะเริ่มนับเมื่อทราบชะตากรรมของผู้ถูกกระทําให้สูญหาย

 บทบาทของ “พนักงานอัยการ” ที่เปลี่ยนแปลงไปตามพ.ร.บ.ปองกันและปราบปรามการทรมานฯ :

1 “รับแจ้ การจับกุมหรือการควบคุม ทั้งนี้เพื่อให้พนักงานอัยการตรวจสอบถ่วงดุลคุ้มครองสิทธิป้องกันมิให้ผู้ถูกจับถูกทรมาน กระทําโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือกระทําให้สูญหาย

2 ยื่นคําร้องขอต่อศาล” เพื่อขอให้ศาลมีคําสั่งยุติการกระทําทรมาน การกระทําที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือกระทําให้สูญหาย

3 “รับแจ้งความ รับคําร้องทุกข์และรับผิดชอบการสอบสวน

4 “เขาตรวจสอบหรือกํากับการสอบสวน ในกรณีที่พนักงานสอบสวนฝ่ายอื่นเป็นพนักงานสอบสวนผู้ทําการสอบสวนและรับผิดชอบคดี ทั้งนี้ภายหลังจากที่ได้รับแจ้งเหตุแห่งคดีจากพนักงานสอบสวน

5 แจ้งและใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน”แทนผู้เสียหาย (หากผู้เสียหายร้องขอศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีความผิด ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ : 1.1

1. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ

(1) พิจารณาคดีความผิดเกี่ยวกับการทรมานตาม มาตรา 5 การกระทําที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามมาตรา 6 หรือการกระทําให้บุคคลสูญหายตาม มาตรา 7 ( ม้ผู้กระทําผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอํานาจศาลทหารตาม ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 16 ก็ตาม และรวมถึง ที่ได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรด้วย

(2) สั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ เปิดเผยข้อมูลผู้ถูกควบคุมตัว

2. ศาลอาญา หรือศาลจังหวัด และศาลอุทธรณ์ :

(1) มีอํานาจ ไต่สวน และ สั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับข้อมูล  ผู้ถูกควบคุมตัว” ในคดีตาม มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 ที่ได้บันทึกไว้ตาม มาตรา 23

     (2) สั่งใหเยุติ”  การทรมาน การกระทําที่โหดร้าย หรือการทําให้บุคคลสูญหาย หรือออกคําสั่งกําหนดมาตรการคุ้มครองผู้ถูกกระทํา

 (3) เปลี่ยนสถานที่ควบคุม

 (4) ให้ผู้ถูกควบคุมพบญาติ ทนายความ หรือบุคคลที่ไว้วางใจเป็นนการส่วนตัว 

(5) ให้มีการรักษาพยาบาล ประเมินโดยแพทยและฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ

(6) เปิดเผยเอกสารบันทึกข้อมูลอื่นใด

(7) กําหนดมาตรการในการยุติ หรือเยียวยาเบื้องต้นแก่ผู้เสียหาย

(8) สั่งให้ปล่อยผู้ถูกควบคุมทันที

บทสรุป สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ

กำหนดมาตรการ การควบคุมตัวว่า ในการตรวจค้นจับกุมบุคคล เจ้าหน้าที่จะต้องติดกล้องติดตามตัวเจ้าหน้าที่ หรือ body cam ซึ่งจะเป็นการป้องกันไม่ให้มีการซ้อมทรมานหรือการปฏิบัติโดยมิชอบ อีกทั้งในกรณีที่เจ้าหน้าที่จับกุมบุคคลใดแล้ว จะต้องแจ้งให้หน่วยงานอื่นคือ ฝ่ายปกครองและอัยการรับทราบทันที พร้อมทำบันทึกการจับกุม สภาพเนื้อตัว ร่างกายของผู้ถูกจับ โดยละเอียด เพื่อให้ครอบครัวหรือทนายความของผู้ถูกจับสามารถตรวจสอบได้ อันเป็นการป้องกันไม่ให้มีการทรมาน อุ้มหาย หรือการกระทำอื่นใดที่มีลักษณะโหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกจับ ให้อำนาจฝ่ายปกครอง กรมสอบสวนคดีพิเศษ และอัยการสอบสวนหรือตรวจสอบได้ นอกจากนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถร้องให้ศาลอาญาที่มีเขตอำนาจไต่สวนได้โดยทันทีในกรณีที่มีการทรมาน การกระทำโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือการย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การกระทำให้สูญหาย  

ต่อไปนี้ การตรวจค้นและการจับกุมบุคคล จะทำแบบ “ลับลับ ล่อล่อ” หรือ “ยัดยา ยัดข้อหา”ไม่ได้แล้ว เพราะต้องมีการ บันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ เริ่มตรวจค้น จับกุม จนกระทั่งส่งตัวผู้ถูกจับให้แก่พนักงานสอบสวน และ เมื่อจับกุมตัวผู้ต้องหาแล้ว จะต้องแจ้ง พนักงานฝ่ายปกครอง และพนักงานอัยการในท้องที่ทราบการจับกุม และเมื่อจับกุมแล้วจะอุ้มหาย หรือนำตัวไป SAVE HOUSE เพื่อสอบปากคำด้วยวิธีพิเศษไม่ได้อีกต่อไป เพราะจะต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องและแจ้งบุคคลที่สามให้ทราบการจับกุม  

พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 จึงเป็นกฎหมายที่ประชาชนเฝ้ารอคอยมานาน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้แล้ว

หวังว่า……คงไม่ถูกเลื่อนการบังคับใช้ออกไปโดยไม่มีกำหนดด้วยเหตุผลความไม่พร้อมของหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมาย นะ

นายวรเทพ  สกุลพิชัยรัตน์

อัยการศาลสูงจังหวัดสมุทรปราการ

รองประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน (คนที่สอง) ในคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร